การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพของโปรแกรมบันทึกทางการพยาบาล กับความพึงพอใจของพยาบาลต่อโปรแกรมบันทึกทางการพยาบา

Main Article Content

มณภา กลั่นบุศย์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณภาพของโปรแกรมบันทึกทางการพยาบาล 2) ศึกษาความพึงพอใจของพยาบาลต่อโปรแกรมบันทึกทางการพยาบาล 3) ศึกษาความสัมพันธ์ของคุณภาพของโปรแกรมบันทึกทางการพยาบาลต่อความพึงพอใจของพยาบาลต่อโปรแกรมบันทึกทางการพยาบาล กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลประจำโรงพยาบาลห้วยกระเจาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาจำนวน 33 คน คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือประกอบด้วย แบบสอบถามคุณภาพโปรแกรมการบันทึกทางการพยาบาล และแบบประเมิน ความพึงพอใจพยาบาลต่อโปรแกรมบันทึกทางการพยาบาล ตรวจสอบความเที่ยงตรงได้ค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.70 - 1.00 และหาความเชื่อมั่นโดยสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาค เท่ากับ 0.94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนาและหาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพของโปรแกรมบันทึกทางการพยาบาลและความพึงพอใจของพยาบาลต่อบันทึกทางการพยาบาล โดยสถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า คุณภาพของโปรแกรมบันทึกทางการพยาบาลภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก (Mean = 59.51, S.D.= 0.96) แยกเป็นรายด้าน ดังนี้ ด้านการประเมินผู้ป่วยแรกรับ (Mean = 17.70, S.D. = 0.23) ด้านการวางแผนการพยาบาล (Mean = 18.39, S.D. = 0.27) ด้านการการบันทึกกิจกรรมการพยาบาล (Mean = 18.55, S.D. = 0.31) การสรุปการจำหน่ายผู้ป่วย (Mean = 4.88, S.D. 0 = 0.16) ความพึงพอใจต่อโปรแกรมบันทึกทางการพยาบาลภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (Mean = 45.27, S.D. = 0.19) แยกเป็นรายด้าน ได้แก่ ด้านมาตรฐานของแบบฟอร์มบันทึก (Mean = 12.30, S.D. = 0.08) ด้านการบันทึกครอบคลุมกระบวนการพยาบาล (Mean = 20.36, S.D. = 0.03) ด้านการมีหลักฐานการใช้ประโยชน์จากการบันทึก (Mean = 12.61, S.D. = 0.08) ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพของโปรแกรมบันทึกทางการพยาบาลและความพึงพอใจของพยาบาลต่อบันทึกทางการพยาบาลมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01

Article Details

How to Cite
กลั่นบุศย์ ม. (2024). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพของโปรแกรมบันทึกทางการพยาบาล กับความพึงพอใจของพยาบาลต่อโปรแกรมบันทึกทางการพยาบา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 11(2), 86–96. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/275028
บท
บทความวิจัย

References

จันทร์จิรา เจียรณัย. (2557). การพัฒนาโปรแกรมบันทึกทางการพยาบาล. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

ฉันทนา กรุงสูงเนิน. (2566). ผลของการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์บันทึกทางการพยาบาลต่อคุณภาพการบันทึก และความสมบูรณ์ของเวชระเบียนผู้ป่วยใน โรงพยาบาลพระทองคําเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา จังหวัดนครราชสีมา. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 41(3), 1-13.

นราทิพ อุดแก้ว และคณะ. (2566). การพัฒนาโปรแกรมการพยาบาลผู้ป่วยเด็กปอดอักเสบด้วย E - Nursing ในหอผู้ป่วย. วารสารแพทย์เขต 4-5, 42(2), 237-251.

ปาลิตา พูลเพิ่ม และคณะ. (2565). ปัญหาและความต้องการการบันทึกทางการพยาบาลในโรงพยาบาลสุทธาเวช คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 19(2), 88-99.

เพ็ญจันทร์ แสนประสาน. (2560). กระบวนการพยาบาลและการบันทึกทางการพยาบาล. กรุงเทพมหานคร: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยชินวัตร.

ลดาวัลย์ ฤทธิ์กล้า. (2564). ประสิทธิผลของการพัฒนาการบันทึกทางการพยาบาลแบบชี้เฉพาะต่อความสมบูรณ์ คุณภาพการบันทึกทางการพยาบาล ความรู้และความพึงพอใจของพยาบาลอายุรกรรม. วารสารโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ, 6(2), 1-13.

สภาการพยาบาล. (2562). ประกาศสภาการพยาบาล เรื่อง มาตรฐานการพยาบาล พ.ศ. 2562. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนพิเศษ 97 ง (18 เมษายน 2562).

อารีย์ ชีวเกษมสุข. (2563). การจัดการเรียนการสอนทางการพยาบาลด้วยการเรียนรู้แบบผสมผสานในยุคความปกติใหม่. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 37(1), 25-37.

Chuang, I. (2020). Beyond COVID19: how hospitals can prepare for a new normal. Retrieved September 14 , 2023, from https://www. Health care itnews.com/news/ asiapacific/ beyond -covid-19-how-hospitals-can-prepare-new-normal

Mohsen S., et al. (2022). Development and evaluation of an electronic nursing docume Ntation system. BMC Nuring, 21(15), 2-12.