วิเคราะห์การส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามหลักสุนทรียะทางวัฒนธรรม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทฤษฎีสุนทรียศาสตร์ 2) ศึกษาสุนทรียทัศน์ทางวัฒนธรรมและการดำเนินชีวิต 3) ศึกษาแนวทางการส่งเสริมสุนทรียศาสตร์ นักศึกษาสาขาวิชาปรัชญา ศาสนาและวัฒนธรรม การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพภาคสนาม โดยศึกษาจากคัมภีร์พระพุทธศาสนา เอกสารทางวิชาการ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เครื่องมือวิจัยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก แล้วนำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ซึ่งผลการวิจัยพบว่า สุนทรียศาสตร์ คือ วิชาที่ว่าด้วยความงาม ซึ่งแบ่งอกเป็น 2 ประการ คือ สุนทรียศาสตร์ทาง ด้านธรรมชาติ และสุนทรียทางศิลปะ สุนทรียทัศน์ทางวัฒนธรรมและการดำเนินชีวิต คือ การดำเนินชีวิตให้กลมกลืนรู้และเข้าใจในคุณค่าของประเพณี และวัฒนธรรมของท้องถิ่นที่ตนอาศัยอยู่ ซึ่งจะนำมาซึ่งความสุขในการดำเนินชีวิตของตนเองและคนในสังคม แนวทางการส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามหลักสุนทรียศาสตร์สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาปรัชญา ศาสนาและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด คือ การใช้กระบวนการเรียนการสอนที่เน้นให้นักศึกษาเข้าใจในทฤษฎีความงามและคุณค่าทางสุนทรียศาสตร์ เช่น ความงามคืออะไร สุนทรียธาตุของความงามคืออะไร เกณฑ์ตัดสินความงามมีกี่อย่างอะไรบ้าง เมื่อนักศึกษาเข้าใจในทฤษฎีและก็ให้นักศึกษาลงมือศึกษาความงามจากสถานที่จริงจากศิลปะประเภทต่าง ๆ เช่น สถาปัตยกรรมและประติมา กรรมต่าง ๆ เมื่อนักศึกษาข้าใจและสามารถอธิบายความและคุณค่าจากศิลปะประเภทต่าง ๆ และวัฒนธรรมประเพณีต่าง ๆ ในท้องถิ่น เมื่อจบวิชานี้นักศึกษาสามารถเข้าใจในคุณค่าของประเพณีและวัฒนธรรมต่าง ๆ ได้มากขึ้น และสามารถดำเนินชีวิตอย่างเข้าใจคุณค่า ความงามและความดีของสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ในสังคมทั้งในด้านความเชื่อทางศาสนาวัฒนธรรมและศิลปะต่าง ๆ มากขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เครือจิต ศรีบุญนาค และคณะ. (2542). สุนทรียภาพของชีวิต. กรุงเทพมหานคร: เธิร์ดเวฟ เอ็ดดูเคชั่น จำกัด.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2543). พัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยจิตวิทยาแบบยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิพุทธธรรม.
พระเรืองเดช สิริปญฺโญ. (2557). การศึกษาวิเคราะห์ฮูปแต้มบนผนังสิมวัดป่าเลไลย์ตามหลักสุนทรียศาสตร์. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พ่วง มีนอก. (2536). สุนทรียศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาปรัชญาและศาสนา, มหาวิทยาลัยรามรามคำแหง.
ไพฑูรย์ พัฒน์ใหญ่ยิ่ง. (2541). สุนทรียศาสตร์ : แนวความคิด ทฤษฎีและการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: เสมาธรรม.
ยุทธกร สริกขกานนท์ และศันสนีย์ จะสุวรรณ์. (2563). สุนทรียภาพของชีวิต. ใน เอกสารประกอบการสอน สำนักวิชาการศึกษาทั่วไปและนวัตกรรมการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2525). พจนานุกรมปรัชญา ไทย - อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพมหานคร: ราชบัณฑิตยสถาน.
ศรัณย์ วงศ์คำจันทร์. (2531). ปรัชญาเบื้องต้น คณะวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์: มหาวิทยาลัยครูกำแพงเพชร. กรุงเทพมหานคร: อมรการพิมพ์.
สถิต วงศ์สวรรค์. (2543). ปรัชญาเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: รวมสาส์น.
สุจิน สังวาลมณีเนตร และคณะ. (2562). สุนทรียศาสตร์และจริยธรรมในการดำรงชีวิต (ทัศนศิลป์). ใน เอกสารประกอบการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
Biswas - Diener, et al. (2012). Happiness in India. New York: Springer.
Suh, E., et al. (1998). The shifting basis of life satisfaction judgments across cultures: Emotions versus norms. Journal of Personality and Social Psychology, 74(2), 482-493.