สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 กับความสุขในการทำงานของครู สังกัดเทศบาลในจังหวัดสมุทรสาคร

Main Article Content

ธัญศญา ธรรศโสภณ
สุธาสินี วิยาภรณ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่อง สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 กับความสุขในการทำงานของครู สังกัดเทศบาลในจังหวัดสมุทรสาครครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดเทศบาลจังหวัดสมุทรสาคร 2) ศึกษาระดับความสุขในการทำงานของครู สังกัดเทศบาลในจังหวัดสมุทรสาคร และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 กับความสุขในการทำงานของครู สังกัดเทศบาลในจังหวัดสมุทรสาคร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากร จำนวน 372 คน ประกอบด้วย ครู และผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดเทศบาลในจังหวัดสมุทรสาคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ จำนวน 168 คน ได้แก่ ครู และผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดเทศบาลในจังหวัดสมุทรสาคร กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากการเปิดตารางของ เครจซี่และมอร์แกน ด้วยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ วิธีดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องการวิจัย 2) สร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 3) เก็บรวบรวมข้อมูล 4) การวิเคราะห์ข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า 1) สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดเทศบาลจังหวัดสมุทรสาคร โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ความสุขในการทำงานของครู สังกัดเทศบาลจังหวัดสมุทรสาคร โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก และ 3) สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 กับความสุขในการทำงานของครู สังกัดเทศบาล จังหวัดสมุทรสาคร มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยเป็นความสัมพันธ์เชิงบวกระดับสูงและมีลักษณะคล้อยตามกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คนึงนิตย์ กิจวิธี. (2560). การศึกษาคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

เทื้อน ทองแก้ว. (2558). สมรรถนะ (Competency): หลักการและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต.

ธชวรรณ สุทธาธาร. (2556). สมรรถนะของผู้บริหารกับคุณภาพการจัดการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารารศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นภารัตน์ หอเจริญ. (2559). สมรรถนะของผู้บริหารกับการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สมุทรสงคราม. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บุญส่ง กรุงชาลี. (2561). ทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

พัชรา วาณิชวศิน. (2560). การพัฒนาภาวะผู้นำ: จากทฤษฎีสู่แนวปฏิบัติที่ดีและกรณีศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ปัญญาชน.

สถาพร พฤฑฒิกุล. (2560). โครงการจัดการความรู้ (Knowledge Management) ประจำปีงบประมาณ 2560 เรื่องการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning. สระแก้ว: คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานเทศบาลเมืองลำพูน. (2560). แผนพัฒนาการศึกษาห้าปีของเทศบาล (พ.ศ. 2561 - 2565). เรียกใช้เมื่อ 19 ธันวาคม 2566 จาก https://lamphuncity.go.th/document/.

อุทัย ภักดีประยูรวงศ์. (2556). สมรรถนะผู้บริหารโรงเรียนในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20. ใน การศึกษาอิสระปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Hellriegel, et al. (2005). Management: A Competency-Based Approach, (10th ed). Singapore: Thomson South-Western Educational Publishing.

Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 608 – 609.

Likert. (1970). New Partterns of Management. New York: McGraw - Hill.

Manion, J. (2003). “Joy at work: Creation a positive workplace”. Journal of Nursing Administra tion, 33(12), 652-659.

McClelland & David, C. (1973). Testing for Competence rather than for Intelligence. New Jersey: American Psychologist.

Spencer, L.M. & Spencer, S. M. (1993). Competency at Work: Models for Superior Performance. New York: John Wiley & Sons.