ผลการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ผู้เรียน โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ผู้เรียนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน 2) หาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่ใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ผู้เรียนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ผู้เรียนโดยใช้การวิจัยเป็นฐานใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ภาคเรียนที่ 1/2566 จำนวน 30 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบประเมินรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ผู้เรียนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน 2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักศึกษา และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ผู้เรียนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบสมมติฐานใช้สถิติทดสอบสมมติฐาน t - test แบบ Dependent ผลการวิจัย พบว่า ผลการพัฒนารูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมของรูปแบบโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งประกอบด้วย 6 ขั้นตอน คือ 1) การระบุปัญหาการวิจัย 2) การตั้งสมมติฐาน 3) การทดสอบสมมติฐาน 4) การรวบรวมข้อมูล 5) การวิเคราะห์ข้อมูล และ 6) การสรุปผล และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาหลังได้รับการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สุดท้าย คือ ผลการศึกษาความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จีรนันท์ ซันชี. (2564). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานที่ส่งผลต่อความตระหนักทางวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ชนาธิป พรกุล. (2554). การสอนกระบวนการคิดทฤษฎีและการนำไปใช้. กรุงเทพมหานคร: ทวีสินพริ้นต์.
ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2561). นวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาในยุคการเรียนรู้ 4.0. เชียงใหม่: ตองสามดีไซน์.
ทิศนา แขมมณี. (2548). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บรรณรักษ์ คุ้มรักษา และศศิพิมพ์ ชุมทอง. (2561). ผลการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน เรื่อง ชนิด สมบัติและประโยชน์ของวัสดุในการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. ใน รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติ. มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2547). การเรียนการสอนที่มีการวิจัยเป็นฐาน. กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย.
มนต์ชัย เทียนทอง. (2548). สถิติและการวิจัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
รุจิราพร รามศิริ. (2566). การพัฒนารูแปบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้การวิจัยเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะการวิจัย ทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และจิตวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาระดับมัธยมศึกษา. ใน วิทยานิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริกหวานกราฟิก.
สุดคนึง ณ ระนอง. (2563). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการวิจัยเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะการวิจัยและทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.