เหยื่ออาชญากรรม

Main Article Content

เรวัฒน์ ไพโรจน์

บทคัดย่อ

เมื่อมีเหตุอาชญากรรมเกิดขึ้นในสังคม ก็จะมีผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ เข้ามาวิเคราะห์กรณีเหตุอาชญากรรมดังกล่าว ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วจะให้ความสนใจไปที่ตัวของอาชญากรเป็นหลัก และมักจะไม่มีผู้ใดให้ความสำคัญกับเหยื่ออาชญากรรม ซึ่งศาสตร์ว่าด้วยเหยื่อ Science the Victim หรือ Victimology นี้จะศึกษาถึงตัวเหยื่ออาชญากรรม บทบาทของเหยื่ออาชญากรรม ความสัมพันธ์ระหว่างเหยื่ออาชญากรรมกับอาชญากรความรับผิดชอบของเหยื่ออาชญากรรมและอาชญากร สิ่งจูงใจที่ทำให้เกิดอาชญากรรม พฤติกรรมที่เร่งเร้าให้เกิดการกระทำผิด ตลอดทั้งศึกษาถึงอาชญากรรมที่ไม่มีเหยื่อ รวมไปถึงการแบ่งแยกประเภทของเหยื่ออาชญากรรม โดย Schafer ได้จำแนกประเภทของเหยื่ออาชญากรรมออกเป็น 7 ประเภท และ Han Von Henting ได้แบ่งประเภทของเหยื่ออาชญากรรมออกเป็น 13 ประเภท ซึ่งจะเห็นได้ว่าเหยื่ออาชญากรรม มีส่วนสำคัญต่อการเกิดอาชญากรรม ดังนั้น การศึกษาเรื่องเหยื่ออาชญากรรมจึงต้องรวมไปถึงปัจจัยอื่น ๆ เช่น เวลา สถานที่ ฤดูกาล อารมณ์ อายุ เพศ แรงจูงใจอื่น ๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนมีผลต่อการเกิดอาชญากรรมทั้งนั้น การให้ความสำคัญแก่เหยื่ออาชญากรรมนั้น ก็เพื่อจะทำให้เราได้เข้าใจถึงปัญหาอาชญากรรมได้ดีขึ้น เราจะไม่ต้องโทษหรือโยนความผิดให้แก่ตัวอาชญากรเพียงคนเดียว สิ่งที่เราจะพิจารณาเมื่อเกิดปัญหาอาชญากรรมขึ้น ก็คือ ตัวอาชญากร ตัวเหยื่อ และสภาพแวดล้อม เราจะต้องทำความเข้าใจในทั้ง 3 ส่วนนี้ ซึ่งการศึกษาเรื่องเหยื่ออาชญากรรม เป็นการศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างอาชญากรรม อาชญากรและผู้เสียหาย หรือเหยื่ออาชญากรรม ก็เพื่อป้องกันผู้เสียหายหรือเหยื่ออาชญากรรมให้พ้นจากการก่อเหตุของอาชญากร และเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกัน และปราบปราม อาชญากรรมซึ่งจะก่อให้เกิดความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยในสังคม

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

รองศาสตราจารย์อัจฉรียา ชูตินันทน์. (2557). อาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน

กองบัญชาการศึกษา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2563). ตำราเรียนหลักสูตรนักเรียนนายสิบตำรวจหมวดวิชาการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ตำรวจ

อัณณพ ชูบำรุง. (2523). ปัญหาว่าด้วยเหยื่ออาชญากรรม. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 23(7), 14-25.

Stephen Schafer. (1977). Victimology : The Victim and his Crimial. P. 45-47.

Ann Wolbert Burgess, Cheryl Regehr and Albert R. Roberts. (2010). Victimology : Theories and Applications. P. 41.

PPTV HD 36. (2563). จ่าคลั่งกราดยิงโศกนาฏกรรมกลางเมืองโคราช. เรียกใช้เมื่อ 26 ตุลาคม 2566 จาก https://www.pptvhd36.com/news/ประเด็นร้อน/137230

TODAY. (2565). โรฮิงญากับตำรวจน้ำดีลี้ภัย อธิบายค้ามนุษย์แบบเข้าใจง่าย. เรียกใช้เมื่อ 26 ตุลาคม 2566 จาก https://workpointtoday.com/explainer-rohingya-2/

ไทยรัฐ ออนไลน์. (2566). สรุปคดี ผอ.กอล์ฟ ฆ่าชิงทอง 3 ศพ จากจุดเริ่มต้น สู่วันประหาร. เรียกใช้เมื่อ 26 ตุลาคม 2566 จาก https://www.thairath.co.th/scoop/theissue/2689192

เดลินิวส์ ออนไลน์. (2566). ย้อนเหตุการณ์กราดยิงหนองบัวลำภู. เรียกใช้เมื่อ 26 ตุลาคม 2566 จาก https://www.dailynews.co.th/news/2051652/

ไทยรัฐ ออนไลน์. (2566). ดับ 2 เจ็บ 5 เหตุยิงในพารากอน ผบ.ตร.ต่อศักดิ์ เผยมือปืนมีประวัติป่วย

ทางจิต. เรียกใช้เมื่อ 26 ตุลาคม 2566 จาก https://www.thairath.co.th/news/crime/2730136

THAI PBS. (2566). กราดยิงในเมืองลูอิสตันเสียชีวิต 22 คน. เรียกใช้เมื่อ 26 ตุลาคม 2566 จาก https://www.thaipbs.or.th/news/content/333220