บทบาทผู้บริหารในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรภายใต้การเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอบทบาทผู้บริหารในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรภายใต้การเปลี่ยน แปลงในศตวรรษที่ 21 จากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านวิทยาการ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ และการแข่งขันที่สูงขึ้น เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ท้าทายสำหรับผู้บริหารในการที่จะนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมาย ผู้บริหารจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนองค์กรโดยคิดหากลยุทธ์ใหม่ ๆ ในการจัดการองค์กร ในการปรับเปลี่ยนองค์กรสิ่งสำคัญที่ผู้บริหารจำเป็นต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรก คือ วัฒนธรรมองค์กร เนื่องจากวัฒนธรรมองค์กร เป็นปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญที่สมาชิกในองค์กรยอมรับร่วมกัน เป็นแนวทางการประพฤติและวิธีปฏิบัติที่ทุกคนในองค์กรต้องยอมรับและปฏิบัติตาม ทุกองค์กรที่ประสบความสำเร็จต้องมีวัฒนธรรมองค์กรที่ดีที่จะนำพลังแห่งความสำเร็จให้เกิดเป็นภาพลักษณ์ของความเป็นองค์กรหนึ่งเดียว โดยผู้มีบทบาทสำคัญใน
การขับเคลื่อนวัฒนธรรมองค์กรเพื่อนำไปสู่การบริหารองค์กรในยุคของการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ ผู้บริหาร ทั้งนี้ผู้บริหารสามารถสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้เกิดขึ้นได้ด้วยบทบาทของผู้บริหาร ดังนี้ 1) การปรับกรอบความคิด (Mindset) ของคนในองค์กร 2) การกำหนดทิศทางขององค์กรที่ชัดเจน 3) ส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กรแบบทีมงาน 4) การให้ข้อมูลและการสื่อสาร 5) การอำนวยความสะดวกและให้ความช่วยเหลือ 6) สร้างวัฒนธรรมองค์กรแห่งการเรียนรู้และการปรับตัว 7) การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 8) การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ และ 9) สร้างหรือพัฒนาระบบการสร้างขวัญ กำลังใจ ดังนั้นผู้บริหารที่สร้างวัฒนธรรมองค์ที่ดีจะสามารถขับเคลื่อนการบริหารงานต่าง ๆ และพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายขององค์กรได้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กิ่งกมล เกลี้ยงแก้ว. (2562). วัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อการบริหารงบประมาณของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาเขต 11 ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
จุฑามาศ รัชนจิตบริสุทธิ์ และคณะ. (2566). การพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรในยุคดิจิทัลตามหลักสังคหวัตถุ 4 โรงเรียนประถมศึกษา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ, 10(2), 383-393.
ณัฐฐินันท์ โยมงาม และอุไร สุทธิแย้ม. (2565). บทบาทการสร้างวัฒนธรรมองค์กรของผู้บริหารสถานศึกษา ตามการรับรู้ของครู กลุ่มโรงเรียนสหวิทยาเขตเบญจบูรพา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร. Journal of Roi kaensarn Academi, 7(10), 364-376.
นิทัสน์ มาสาลี และคณะ. (2565). แนวทางการพัฒนากรอบความคิดเติบโตของผู้บริหารสถานศึกษา. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย, 12(3),199-204.
เบญจพร สุคนธร. (2565). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญา การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยเกริก.
ไว ซีรัมย์ และคณะ. (2563). วัฒนธรรมองค์กรที่เสริมสร้างการจัดการที่ดีของระบบบริหารราชการไทย. วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์, 5(2), 176-192.
ศิริรักษ์ บุญพร้อมรักษา. (2561). ทัศนะและบทบาทผู้นำที่แท้จริงกับการบริหารองค์การแห่งศตวรรษที่ 21. วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์, 12(17), 39-54.
ศุภวรรณ คงเสมา และคณะ. (2565). วัฒนธรรมองค์กร : เงื่อนไขสำคัญของการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน. วารสารวิชาการร้อยแก่นสาร, 7(12), 378-390.
สุกัญญา ล่ำสัน. (2565). วัฒนธรรมองค์กรที่มีผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
อุดรรัตน์ ธรรมดา. (2565). การสร้างวัฒนธรรมองค์กร (Organization Culture). เรียกใช้เมื่อ 10 มกราคม 2567 จาก https://blog.wu.ac.th/?p=5702
Brent Gleeson. (2019). 7 Mindsets Necessary for Successful Leadership Development. Retrieved October 14, 2023, from http://www.forbes.com/site/brentgleeson/2018/05/31/7-mindsets-necessary-for-successful-leadership-development
Gill, R. (2007). Theory and practice of leadership. New Delhi: Sage.