ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสุขภาพ

Main Article Content

กษิภัท ภัทรบวรวุฒิ
ภัทรธิรา ผลงาม

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบของผลิตภัณฑ์อาหารและประเภทของผลิตภัณฑ์อาหารเสริม โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงเอกสารตามแนวทางของ Scott โดยการคัดเลือกเอกสารที่เกี่ยวข้อง โดยใช้หลักเกณฑ์ 1) มีความถูกต้อง 2) มีความน่าเชื่อถือ 3) มีความเป็นตัวแทน และ 4) มีความชัดเจน ใช้การตีความเอกสารและการสังเคราะห์ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบของผลิตภัณฑ์อาหารเสริมมี 8 รูปแบบ ได้แก่ 1) แบบเม็ด สารอาหารผสมอัดเป็นเม็ด 2) แบบแคปซูลแข็ง ผลิตมาจากเจลาติน 3) แบบแคปซูลนิ่ม ใช้กับน้ำมัน 4) แบบแคปซูลเซลลูโลส จากเส้นใยของพืชผัก 5) แบบผง เวลารับประทานต้องนำไปผสมน้ำ 6) แบบเหลว ที่อยู่ในรูปแบบพร้อมดื่ม 7) เจลลี่เคี้ยว แบบนี้เหมาะสำหรับเด็กและ 8) แบบเม็ดฟู่ เมื่อใส่ในน้ำตัวยาจะแตกตัว ส่วนประเภทของผลิตภัณฑ์อาหารเสริมมี 4 ประเภท ดังนี้ 1) ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมบำรุงสุขภาพ ได้แก่ 1.1) อาหารเสริมบำรุงสมอง 1.2) อาหารเสริมเพิ่มความสูง 1.3) อาหารเสริมภูมิคุ้มกัน
1.4) อาหารเสริมผู้ชาย 1.5) อาหารเสริมบำรุงสายตา 1.6) อาหารเสริมบำรุงร่างกาย และ 1.7) อาหารเสริมผู้สูงอายุ 2) ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อความงาม ได้แก่ 2.1) อาหารเสริมเพิ่มผิวขาว 2.2) อาหารเสริมลดสิว2.3) อาหารเสริมบำรุงเส้นผม และ 2.4) อาหารเสริมลดฝ้า 3) ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมทางการแพทย์ ได้แก่3.1) อาหารเสริมบำรุงตับ 3.2) อาหารเสริมลดไขมันในเลือด 3.3) อาหารเสริมบำรุงข้อเข่า 3.4) อาหารเสริมบำรุงเลือด และ 3.5) อาหารเสริมช่วยการนอนหลับ และ 4) ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมการออกกำลังกาย ได้แก่
4.1) อาหารเสริมลดน้ำหนัก 4.2) อาหารเสริมเพิ่มน้ำหนัก และ 4.3) อาหารเสริมเวย์โปรตีน

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมส่งเสริมการค้า. (2564). เกาะติดสถานการณ์การค้า. เรียกใช้เมื่อ 13 มีนาคม 2565 จาก https://www.ditp.go.th

มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. (2565). การดูแลสุขภาพของคนไทย. เรียกใช้เมื่อ 1 กรกฎาคม 2565 จาก https://suan dusitpoll.dusit.ac.th

โรงพยาบาลนนทเวช. (2565). ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม. กรุงเทพมหานคร: โรงพยาบาลนนทเวช.

โรงพยาบาลสินแพทย์. (2566). หลักในการเลือกกินอาหารเสริมให้ปลอดภัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพยาบาลสินแพทย์.

วิตามินมอร์. (2565). คุณและโทษของอาหารเสริม. เรียกใช้เมื่อ 21 กรกฎาคม 2565 จาก https://www.agro. cmu.ac.th/absc/data/57/57-011.pdf

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2564). แนวโน้มการตลาดอาหารเสริม. เรียกใช้เมื่อ 1 กรกฎาคม 2565 จาก https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/kecon/business/Pages/10100.aspx

สดุดี บุนนาค. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมในเขตกรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (2565). หลักเกณฑ์และแนวทางการอนุญาตผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร. นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข.

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า. (2566). ดัชนีเศรษฐกิจการค้าประจำเดือนเมษายน 2566. เรียกใช้เมื่อ 1 เมษายน 2566 จาก http://www.tpso.moc.go.th/th

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ. (2565). ตลาดผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพในประเทศจีน. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงพานิชย์.

สุธารัชฎ์ รัตนารามิก. (2565). เลือกกินอาหารเสริมอย่างไร ให้ได้ประโยชน์สูงสุด. เรียกใช้เมื่อ 1 กรกฎาคม 2565 จาก http://health.kapook.com/

สุรอรรถ ศุภจัตุรัส. (2564). ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อาหารเสริม. เรียกใช้เมื่อ 1 กรกฎาคม 2565 จาก https://ulifespace.com/blogs/editorial/food-supplements-vs-dietary-supplements-product

Besterlife. (2566). How To Choose Nutritional Supplements Correctly. Retrieved December 8, 2022, from https://ods.od.nih.gov/factsheets/WYNTK-Consumer/