บทบาทผู้บริหารท้องถิ่นและการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่น ในอำเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาท้องถิ่น ในอำเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา 2) เพื่อวิเคราะห์บทบาทผู้บริหารท้องถิ่นและการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่นใน อำเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริม พัฒนาท้องถิ่น ในอำเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา เป็นวิจัยแบบผสานวิธีระหว่างเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงปริมาณจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 20 คน เครื่องมือการวิจัย คือ การสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ ผลการศึกษา พบว่า 1) การพัฒนาท้องถิ่น ในอำเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงค่าเฉลี่ยมากไปน้อย คือ ด้านการศึกษา บำรุงศาสนา สืบสานวัฒนธรรมประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น รองลงมา ได้แก่ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน และด้านเศรษฐกิจและการพัฒนาอาชีพประชาชน ตามลำดับ 2) บทบาทของผู้บริหารท้องถิ่นและการมีส่วนร่วมของประชาชน ด้านนำร่วมกัน ปฏิบัติการร่วมกัน มีการสื่อสาร และการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่น ในอำเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) การวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะให้การพัฒนาท้องถิ่น บทบาทผู้บริหารท้องถิ่นนั้น ต้องมีบทบาทของการพัฒนาโดยอาศัยทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง อาทิ ผู้นำหมู่บ้าน ตัวแทนส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานควรมีการเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการติดตาม และประเมินผล นโยบายพัฒนาท้องถิ่น ร่วมกันในการพิจารณา โครงการ แผนพัฒนาท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการดำเนินการที่เหมาะสม และเกิดประโยชน์สูงสุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จอมพงศ์ มงคลวนิช. (2556). การบริหารองค์การ และบุคคลกรทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จักรีศรี จารุเมธีญาณ และพระถนัด วฑฺฒโน. (2560). ภาวะผู้นํากับการพัฒนาชุมชน. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 6(ฉบับพิเศษ), 528 - 538.
พิชญ์ณิฐา พรรณศิลปะ. (2558). บทบาทของผู้บริหารท้องถิ่นในศตวรรษที่ 21. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 3(2), 151 - 158.
สนุพงษ์ จิรชวาลวิสุทธิ์. (2558). ปัญหาและอุปสรรคการปฏิบัติงานของนายทหารประทวน ค่ายภาณุรังสีจังหวัดราชบุรี. ใน วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.
สมคิด ศรีสิงห์. (2558). ปัจจัยที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนากิจกรรมของประชาชนในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก. JOURNAL OF NAKHONRATCHASIMA COLLEGE, 9(2). 57 - 63.
สำนักงานเลขาธิการสภาพผู้แทนราษฎร. (2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนกับการปกครองส่วนท้องถิ่น. ใน เอกสารวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
องค์การบริหารส่วนตำบลขามทะเลสอ. (2564). แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2561 - 2565). นครราชสีมา: องค์การบริหารส่วนตำบลขามทะเลสอ.
Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Test (5th ed.). Harper Collins.
Lane, M. B. (2005). Public Participation in Planning: an intellectual history. Australian Geographer, 36(3), 283 - 299.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed). New York: Harper and Row.