การมีส่วนร่วมของประชาชนและภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อประสิทธิผล ในการพัฒนาชุมชนในอำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลในการพัฒนาชุมชนในอำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา 2) เพื่อวิเคราะห์การมีส่วนร่วมของประชาชนและภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการพัฒนาชุมชนในอำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา และ 3) เพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาประสิทธิผลในการพัฒนาชุมชนในอำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา เป็นวิจัยแบบผสานวิธีระหว่างเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง การวิจัยเชิงปริมาณจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ การวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 20 คน เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ ผลการศึกษาพบว่า 1) ประสิทธิผลในการพัฒนาชุมชนในอำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อย คือ ด้านทรัพยากรธรรมชาติ รองลงมา ด้านเทคโนโลยี ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ และด้านจิตใจ ตามลำดับ 2) การมีส่วนร่วมของประชาชนและภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การมีส่วนร่วมในขั้นปฏิบัติการ การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ การเป็นแบบอย่างที่ดี และการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจ ส่งผลต่อประสิทธิผลการพัฒนาชุมชนในอำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) ควรมีการศึกษาพฤติกรรม ความเป็นอยู่ และปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรมชุมชน สร้างเครือข่ายชุมชนเพื่อแลกเปลี่ยนเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ เพื่อหาปัญหา อุปสรรค แนวทางแก้ไข และนำองค์ความรู้ใหม่ไปเป็นองค์ประกอบในการพัฒนาชุมชนอย่างมีประสิทธิผลต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เฉลิมรัตน์ จันทรเดชา. (2557). ภาวะผู้นําแบบผู้รับใช้ในโรงพยาบาลเอกชน: การนิยามมโนทัศน์และพัฒนาเครื่องมือวัด. ใน ดุษฎีนิพนธ์วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
จักรี ศรีจารุเมธีญาณ. (2562). แรงจูงใจในการทำงาน : ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน.
ชยาภรณ์ ทองบ่อ. (2562). อิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงต่อประสิทธิผลการบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอนาแก จังหวัดนครพนม. ใน วิทยานิพนธ์ประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.
ปรียา พรหมจันทร์. (2542). ศึกษาปัจจัยและวิธีการพัฒนาชุมชนบ้านคีรีวง ตำบลกำโลน อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพัฒนาสังคม. มหาวิทยาลัยทักษิณ.
พระนัสทิวส์ จนฺทสาโร. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาชุมชนในเขตเทศบาล ตำบลแกดำ อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม. ใน การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาครั้งที่ 2. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ศิริรุ่ง บรรเทาทุกข์. (2554). การมีส่วนร่วมของประธานกรรมการชุมชนต่อการพัฒนาชุมชนย่อยในเขตเทศบาลตำบลโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย (สกว).
สำนักบริหารการปกครองท้องที่. (2553). คู่มือการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการหมู่บ้าน. กรุงเทพมหานคร: ฝ่ายบริหารงานทั่วไป สำนักบริหารการปกครองท้องที่ (สน.ปท.).
สุธีญา พรหมมาก. (2554). ภาวะผู้นำกับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในด้านการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง. วารสารวิทยบริการ, 22(3), 30 - 43.
International Association of Participation - IAP2. (2006). Planning for Effective Public Participation. The International Association for Public Participation. Retrieved April 20, 2023, from https://semspub.epa.gov/work/11/174748.pdf
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed). New York: Harper and Row.