การเปรียบเทียบผลการตรวจวิเคราะห์ทางเคมีคลินิก ที่เตรียมจากหลอดเก็บเลือดอินโนเมด หลอดเก็บเลือดชนิดลิเทียมเฮปาริน และหลอดเก็บเลือดโซเดียมฟลูออไรด์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพการตรวจวิเคราะห์สารชีวเคมี จากการใช้ผลิตภัณฑ์หลอดเก็บเลือดอินโนเมด 2) เปรียบเทียบผลการตรวจวิเคราะห์สารชีวเคมีระหว่างการใช้ผลิตภัณฑ์หลอดเก็บเลือดอินโนเมด และหลอดเก็บเลือดชนิดลิเทียมเฮปาริน 3) เปรียบเทียบระดับกลูโคสในเลือดของพลาสมาที่เตรียมจากหลอดเก็บเลือดอินโนเมด และหลอดเก็บเลือดโซเดียมฟลูออไรด์ หลังเจาะเลือดภายในระยะเวลา 0, 4 และ 8 ชั่วโมง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือเลือดที่นำมาใช้ตรวจดูระดับกลูโคสและสารชีวเคมีต่าง ๆ ณ โรงพยาบาลเกาะสมุย ระหว่างวันที่ 1 พฤษจิกายน 2565 ถึง 31 มีนาคม 2566 เพื่อตรวจวัดระดับน้ำตาลกลูโคสและสารชีวเคมี และนำข้อมูลมาวิเคราะห์ผลโดยใช้การวิเคราะห์ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ Paired t - test ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพการตรวจวิเคราะห์สารชีวเคมีจากการใช้ผลิตภัณฑ์หลอดเก็บเลือดอินโนเมด มีค่าการวิเคราะห์อยู่ในช่วงที่กำหนด 2) ผลการตรวจวิเคราะห์สารชีวเคมีระหว่างการใช้ผลิตภัณฑ์หลอดเก็บเลือดอินโนเมดและหลอดเก็บเลือดชนิดลิเทียมเฮปาริน พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 3) ผลการตรวจวิเคราะห์ความแตกต่างของระดับกลูโคสในเลือดของพลาสมาที่เตรียมจากหลอดเก็บเลือดอินโนเมด และหลอดเก็บเลือดโซเดียมฟลูออไรด์หลังเจาะเลือดภายในระยะเวลา 0, 4 และ 8 ชั่วโมง พบว่า ไม่มีความแตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ดังนั้น ผู้วิจัยเสนอแนะให้นำผลิตภัณฑ์หลอดเก็บเลือดอินโนเมดมาใช้งานโรงพยาบาลเกาะสมุยและเผยแพร่ให้หน่วยงานอื่นนำหลอดเก็บเลือดอินโนเมดมาใช้งานกับผู้ป่วยที่มารับบริการอย่างมีประสิทธิภาพ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
โรงพยาบาลเกาะสมุย. (2564). รายงานผลการดำเนินงานโรงพยาบาลเกาะสมุย ประจำปีงบประมาณ 2564. สุราษฎร์ธานี: สุราษฎร์ธานีการพิมพ์.
กนิษฐา นิลผาย. (2563). การเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการวัดระดับน้ำตาลในเลือด ระหว่างเครื่อง Accu Check Instant กับเครื่อง Sysmex BX 4000 ห้องปฏิบัติการคลินิกเบาหวานโรงพยาบาลทุ่งเขาหลวง. วารสารวิจัยและพัฒนาวัตกรรมทางสุขภาพ, 1(1), 9 - 20.
ธวัชชัย วรพงศธร. (2563). สถิติและการวิจัยสำหรับวิทยาศาสตร์สุขภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ผุสดี โตบันลือภพ และแพรวนภา คล้ายทอง. (2561). การศึกษาเปรียบเทียบผลการตรวจวิเคราะห์ HbA1c โดยใช้เลือดจากหลอด EDTA Blood กับ NaF - EDTA Blood โดยเครื่องตรวจวิเคราะห์อัตโนมัติ Furuno CA - 800. วารสารเทคนิคการแพทย์, 46(3), 6754 - 6763.
พัชรียา ป้องเรือ และเยาวลักษณ์ ธีระเจตกูล. (2565). การศึกษาเปรียบเทียบระดับ HbA1c ในเลือดที่ใช้ EDTA และLithium-Heparin เป็นสารกันเลือดแข็ง ตรวจวัดโดยวิธี Boronate Affinity. วารสารเทคนิคการแพทย์, 49(3), 7963 - 7974.
วรพรรณ ศิริวัฒนอักษร และคณะ. (2562). การเพิ่มประสิทธิภาพ mRNA ของแมมมาโกลบินในกระแสเลือดหลายครั้งในหลายระยะในประเทศไทย การตรวจหาระดับโมเลกุลของ mammaglobin mRNA การไหลเวียนของเลือดของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะต่าง ๆ ในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล.
สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง. (2561). คู่มือ การเก็บ การรักษา การนำส่งสิ่งส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ. กรุงเทพมหาคร: สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง.
อภิรมย์ วงศ์สกุลยานนท์. (2562). ผลของสารกันเลือดแข็งและเวลาก่อนวิเคราะห์ต่อ การตรวจวัดสารเร่งการเติบโตในซีรั่มและพลาสมา. วารสารเทคการแพทย์, 46 (2), 6508 - 6520.
อรอนงค์ พัฒศรี และคณะ. (2563). การศึกษาความคงทนของผลตรวจวิเคราห์สารชีวเคมีในเลือดโดยใช้หลอดเก็บเลือดสุญญากาศ. วารสารเทคนิคการแพทย์, 5(3), 23 - 33.
Chaiyasingh, P. et al. (2018). Abstract: Effectiveness of ClinicalChemistry Laboratory Report viaAutoverification System in Lopbuli Cancer Hospital. Journal of the Department of Medical Services, 47(1), 49 - 71.
Michael, L. et al. (2017). Clinical Chermistry: Principles, Techniques and Correlatioms Eighth Edition. Philadelphia: Wolters Kluwer.
World Health Organization. (2018). Global Action Plan on Physical Activity. Retrieved February 7 , 2565, from https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/272722/9789241514187 - eng.pdf.