การบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารตามความคิดเห็นของครูโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสมุทรปราการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับของการบริหารสถานศึกษาโดยใช้หลักธรรมา ภิบาลของผู้บริหาร 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหาร จำแนกตามเพศ วุฒิการศึกษา อายุ ประสบการณ์การทำงาน และขนาดของสถานศึกษา 3) เพื่อประมวลข้อเสนอแนะการบริหารสถานศึกษาโดยใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหาร โดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Methods) โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 5 ท่าน และการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 351 คน และใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐาน โดยการทดสอบค่าที และค่าเอฟ ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการบริหารสถานศึกษาโดยใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหาร อยู่ในระดับมาก ( = 3.85, SD = 0.67) 2) เมื่อเปรียบเทียบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหาร จำแนกตามตัวแปรเพศ และอายุ โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน แต่ตัวแปรวุฒิการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และขนาดของสถานศึกษาแตกต่างกัน 3) ประมวลข้อเสนอแนะการบริหารสถานศึกษาโดยใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหาร พบว่ามี 3 ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด และควรมีการพัฒนา ได้แก่ 1) ด้านหลักการมีส่วนร่วม ( = 3.81, SD = 0.84) 2) ด้านหลักมุ่งเน้นฉันทามติ ( = 3.81, SD = 0.79) และ 3) ด้านหลักความรับผิดชอบ ( = 3.83, SD = 0.89)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จำนงค์ แก้วเนื้ออ่อน. (2552). การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาในอำเภอเมือง จังหวัดยะลา. ใน สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ซอหมาด ใบหมาดปันจอ. (2553). การใช้หลักธรมาภิบาลในการบริหารโรงเรียนเอกชนสนศาสนาอิสลามในจังหวัดสตูล. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยทักษิณ.
ซารีล่า ลาหมีด. (2559). การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารตามทัศนะของครูโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดสตูล. ใน สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ดารินทร์ สงมะเริง. (2559). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.
ธีระ รุญเจริญ. (2546). การบริหารโรงเรียนยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ข้าวฟ่าง.
ประเวศ วะสี. (2546). ธรรมาภิบาลกับการคอร์รัปชั่นในสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิวิถีทรรศน์.
พรอัมรินทร์ พรหมเกิด. (2565). เครือข่ายกลุ่มอิทธิพล : คอร์รัปชัน ในการจัดซื้อหนังสือ-ครุภัณฑ์การศึกษา. เรียกใช้เมื่อ 15 มีนาคม 2566 จาก https://www.isranews.org/article/isranews-article/112823-corrup-11.html
มัฮดี แวดราแม. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการประกันคุณภาพภายในที่บูรณาการกับงานปกติ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 24 (3), 59-81.
รอซีด๊ะ เฮ็ง. (2555). การบริหารสถานศึกษาโดยหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารตามคิดเห็นของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดนราธิวาส. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
รับขวัญ กาคภูมิ. (2547). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษากับสุขภาพองค์การของสถานศึกษาสังกัดสำนักงาน เขต พื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
รินทร์รดี พิทักษ์. (2553). พฤติกรรมการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารในทัศนะของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจังหวัดสงขลา. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
วิไรรัตน์ ฝ่ายดี. (2559). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนขนาดกลางในอำเภอตาพระยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.
วีรยุทธ พรพจน์ธรมาส. (2557). องค์ประกอบของธรรมาภิบาลในโรงเรียน. วารสารนักบริหาร Executive Journal, 34 (1), 79-88.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) . กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสมุทรปราการ. (2565). ข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาจังหวัดสมุทรปราการ ปี 2565. สมุทรปราการ: สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสมุทรปราการ.
สุรศักดิ์ ชะมารัมย์. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารจัดการ ของสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการจัดการ. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Best, J. W. (1981). Research in education. New jersey: Prentice-Hall.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). NY: Harper Collins & Publishers.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.