ภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อระบบการดูแล ช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนเอกชนตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานศึกษาธิการ จังหวัดสมุทรปราการ

Main Article Content

ประนอม แสงพิรุณ
สุมิตรา ยาประดิษฐ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสมุทรปราการ 2) เพื่อศึกษาระดับระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสมุทรปราการ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารสถานศึกษากับระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสมุทรปราการ และ 4) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสมุทรปราการ เป็นวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ครูโรงเรียนเอกชนสังกัดสำนักงานศึกษาธิการ จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 351 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น และสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .993 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสมุทรปราการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามความคิดเห็นของครู โรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการ จังหวัดสมุทรปราการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารสถานศึกษากับระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนเอกชน ในภาพรวมมีความสัมพันธ์กันทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) ภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสมุทรปราการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสามารถร่วมพยากรณ์ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสมุทรปราการได้ร้อยละ 91.10

Article Details

How to Cite
แสงพิรุณ ป., & ยาประดิษฐ์ ส. . (2023). ภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อระบบการดูแล ช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนเอกชนตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานศึกษาธิการ จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 10(9), 74–84. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/271853
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2546). การใช้ SPSS for Window ในการวิเคราะห์ข้อมูล. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: บริษัทธรรมสาร.

คมกฤช ประการะสังข์. (2559). ภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารแบบมี ส่วนร่วมในการบริหารงานของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา . มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2550). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 10). นนทบุรี: ไทยเนรมิตกิจอินเตอร์ โปรเกรสซิฟ.

ปรมาภรณ์ สนธิ. (2560). แนวทางการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ปวิชญา สารสิทธิ์. (2565). ภาวะผู้นำแบบรับใช้และวัฒนธรรมองค์กรที่มีผลกระทบต่อการจัดการสุขภาพปฐมภูมิ. วารสาร มจร. อุบลปริทรรศน์, 7(2), 1295 - 1306.

ผ่องศรี วาณิชย์ศุภวงศ์. (2546). เอกสารคําสอนระเบียบวิธีวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). ปัตตานี: ฝ่ายเทคโนโลยีการศึกษา สำนักวิทยบริการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

พิชามญชุ์ ม่วงแก้ว. (2559). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

รัชพล เที่ยงดี. (2563). การศึกษาการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี.

รุ่งนภา สุขสำแดง. (2563). การศึกษาปัญหาด้านการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา . มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

วาสนา โพธิ์อ่อง. (2559). การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

สำนักงานเลขาธิการไทยสภาการศึกษา. (2561). สภาวะการศึกษาไทยปี 2559/2560 แนวทางการปฏิรูปการศึกษาเพื่อก้าวสู่ยุค Thailand 4.0. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการ .

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2546). คู่มือการปฏิบัติงานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. 2550. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

Best, J.W. (1981). Research in Education. New Jersey: Prentice - Hall.

Cronbach, Lee J. (1984). Essentials of Psychological Testing. 1st ed. New York: Harper & Row.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.

Laub, J. (2004). Defining Servant Leadership: A Recommended Typology for ServantLeadership Studies. Retrieved March 14, 2023, from https://www.servantleaderperformance.com/wp - content/uploads/2017/12/Defining - Servant-Leadership - SL – Roundtable - 2004.pdf

Likert, Renic. (1993). A Technique for the Measurement of Attitude. Chicago: Read Mc Nally.