การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1

Main Article Content

สราวุธ ทองแสง
สมบัติ เดชบำรุง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 2) เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ ครู โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 กลุ่ม 3 จำนวน 86 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า: 1) การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ หลักมุ่งเน้นฉันทามติ รองลงมา คือ หลักการตอบสนอง และต่ำสุด คือ หลักความโปร่งใส 2) แนวทางการพัฒนาการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 ได้นำแนวทางการพัฒนาจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ มีพหุแนวทาง พิจารณานำไปใช้ในแผนพัฒนาองค์กร ได้ดังนี้ 1) ผู้บริหารควรนำหลักการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารสถานศึกษา เพื่อใช้ในการวางกรอบ เป้าหมาย วัตถุประสงค์ แนวทางเพื่อนำไปปฏิบัติงานด้านต่าง ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษา 2) แนวทางการพัฒนาจากการเขียนเป็นโครงการ 1) โครงการ พัฒนาประสิทธิภาพ ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา 2) โครงการพัฒนาและยกระดับคุณธรรมและความโปร่งใสในสถานศึกษา 3) โครงการการพัฒนาศักยภาพด้านการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ และ4) โครงการจิตสำนึกรักองค์กรเพื่อการทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จุฑามาส นาคปฐม. (2559). การบริหารการศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนเทศบาลอินทปัญญา วัดใหญ่อินทาราม เทศบาลเมืองชลบุรี. ใน วิทยานิพนธ์หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขา

วิชาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธีระ รุญเจริญ. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการบริหารจัดการศึกษาในยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ข้าวฟาง.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: บริษัท สุวีริยาสาส์น จำกัด.

ปรัชญา เวสารัชช์. (2545). หลักการจัดการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานปฏิรูปการศึกษา.

พงษ์พิพัฒน์ นารินรักษ์. (2563). ปัจจัยการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. (2553). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 127 ตอนที่ 45 ก หน้า 1-3 (22 กรกฎาคม 2553).

พิษณุ ยงดี. (2559). ธรรมาภิบาลของโรงเรียนรัตนราษฎร์บำรุง. ใน สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี. (2542). ว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 63 ง หน้า 24-30 (10 สิงหาคม 2542).

วัชเรศ วงษ์เฉลียง. (2564). ธรรมาภิบาลของผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี. ใน วิทยานิพนธ์หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สัมมา รธนิธย์. (2556). หลักทฤษฎีและปฏิบัติการบริหารการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ดีจำกัด.

สุกานดา สุไลมาน. (2560). การใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานตามจรรยาบรรณวิชาชีพของข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

Taro Yamane. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: Harper & Row.