มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522

Main Article Content

วรุณรักษ์ ชินเนหันหา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของประเทศไทย 2) ศึกษาเปรียบเทียบมาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของประเทศไทยกับต่างประเทศ 3) เสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยศึกษาค้นคว้าจากเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า ปัจจุบันผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเป็นที่นิยมอย่างมากในประเทศไทย มีช่องทางการขายที่หลากหลาย เช่น การโฆษณาขายผ่านช่องทางออนไลน์ การติดป้ายประกาศโดยการชักชวนให้ผู้บริโภคเกิดความสนใจในผลิตภัณฑ์การโฆษณานั้นได้มีการกำหนดในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 มาตรา 40 ว่า “ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาคุณประโยชน์คุณภาพ หรือสรรพคุณของอาหารอันเป็นเท็จ หรือเป็นการหลอกลวงให้เกิดความหลงเชื่อโดยไม่สมควร” ซึ่งหากมีการฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าวจะต้องได้รับโทษตามมาตรา 70 คือ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปีหรือ โทษปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งบทบัญญัติในมาตรา 40 ยังไม่ครอบคลุม ไม่มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและเพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติที่อยู่ภายใต้การควบคุม กำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาต้องใช้เกณฑ์เช่นเดียวกันกับการควบคุมการโฆษณาสินค้าประเภทอุตสาหกรรมอาหาร และบทลงโทษตามมาตรา 70 มีบทลงโทษที่เบาเกินไปเนื่องจากปัจจุบันนี้เศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลงไป ผู้กระทำความผิดได้รับประโยชน์ค่าตอบแทนมากกว่าโทษที่ตนเองต้องได้รับทำให้ไม่มีผลเป็นการข่มขู่ ยับยั้ง ไม่เกิดความเข็ดหลาบ และอาจทำให้เกิดการกระทำความผิดซ้ำอีก

Article Details

How to Cite
ชินเนหันหา ว. . (2023). มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 10(8), 162–171. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/271421
บท
บทความวิจัย

References

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์. (2564). ‘กาละแมร์’ ถึง ‘ถั่งเช่า’ ต้องรู้ทันอาหารเสริมแบบไหน ‘โฆษณาเกินจริง’. เรียกใช้เมื่อ 13 มิถุนายน 2566 จาก https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/918602

คมชัดลึก. (2564). “ยิ่งยง” อ่วม ศาลสั่งคุก 2 ปี ปรับ 50,000 บาท คดีโฆษณาถั่งเช่า. เรียกใช้เมื่อ 13 มิถุนายน 2566 จาก https://www.komchadluek.net/news/crime/457384

ไทยรัฐออนไลน์. (2562). เผาแล้ว แม่ลูกอ่อน เหยื่อยาลดความอ้วนออนไลน์ วิระชัย แถลงจับยกแก๊ง. เรียกใช้เมื่อ 13 มิถุนายน 2566 จาก https://www.thairath.co.th/news/local/central/1609368

ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์. (2562). การกำหนดมาตรฐานการควบคุมการโฆษณาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อาหาร ตาม พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522. ใน เอกสารวิชาการส่วนบุคคลของการอบรมหลักสูตร “ผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง” รุ่นที่ 23. วิทยาลัยการยุติธรรม สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการ ศาลยุติธรรม สำนักงานศาลยุติธรรม.

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข. (2548). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 122 ตอนพิเศษ 150 ง หน้า 2-5 (28 ธันวาคม 2548).

พระราชบัญญัติอาหาร. (2522). พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522. เรียกใช้เมื่อ 13 มิถุนายน 2566 จาก https://www4.fisheries.go.th/local/file_document/20210428102451_1_file.pdf

ไพบูลย์ เอี่ยมขำ และคณะ. (2562). สถิติการเรียกคืนผลิตภัณฑ์อาหารของประเทศต่าง ๆ ประจำปีงบประมาณ 2561. (พิมพ์ครั้งที่ 1). นนทบุรี: สำนักส่งเสริมและสนับสนุนอาหารปลอดภัย.

ภัทร์ภณ ภู่เพ็ชร์. (2566). รายงาน เรื่อง การศึกษากฎหมายด้านสินค้าเกษตรและอาหารของประเทศแคนาดา. เรียกใช้เมื่อ 13 มิถุนายน 2566 จาก https://readgur.com/doc/2211147/

รายการเรื่องเล่าเช้านี้. (2561). สลด เสี่ยเสียชีวิตคาห้องนอนคาดกินยาลดความอ้วน พบยี่ห้อเดียวกับที่ อย.แจ้งเตือนอันตราย. เรียกใช้เมื่อ 13 มิถุนายน 2566 จาก https://www.youtube.com/watch?v= MUVQacnCaEU

วิชช์ จีระแพทย์. (2523). กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคด้านการโฆษณา. ใน วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สิทธิ์ ธีรสรณ์. (2551). การตลาด จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

Canada.Ca. (2012). Safe Food for Canadians Act. Retrieved มิถุนายน 13, 2566 from https://laws-lois.justice.gc.ca/eng/acts/s-1.1/index.html

Reed Smith. (2007). The FDA Amendments Act of 2007. Retrieved มิถุนายน 13, 2566 from https://s3.amazonaws.com/documents.lexology.com/1eb7f63d-84c7-4816-98ac-20aa2

U.S.FOOD & DRUG ADMINISTRATION. (2023). Dietary Supplements. Retrieved มิถุนายน 13, 2566 from https://www.fda.gov/food/dietary-supplements