รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ การบริหารสถานศึกษาในยุคเทคโนโลยีดิจิทัล
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารสถานศึกษาในยุคเทคโนโลยีดิจิทัล และ 2) ตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารสถานศึกษาในยุคเทคโนโลยีดิจิทัลที่พัฒนา
ขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ การวิจัยแบ่งเป็นสองระยะ ระยะที่หนึ่ง การกำหนดกรอบแนวคิดการวิจัยโดยการศึกษาเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ ระยะที่สอง เป็นการตรวจสอบรูปแบบกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.95 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นบุคลากรในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย โดยเลือกแบบเจาะจงเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 31 คน และครูผู้สอน จำนวน 279 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 310 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์หาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนระหว่างรูปแบบเชิงสมมติฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของการบริหารสถานศึกษายุคเทคโนโลยีดิจิทัล ประกอบด้วย 4 ปัจจัย คือ ภาวะผู้นำเทคโนโลยีดิจิทัล การจัดการเทคโนโลยีดิจิทัล การวางแผนเทคโนโลยีดิจิทัล และวัฒนธรรมเทคโนโลยีดิจิทัล 2) รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่า เท่ากับ 221.19 ที่ df เท่ากับ 168 ค่า p - value เท่ากับ 0.14 ค่า GFI เท่ากับ 0.96 ค่า AGFI เท่ากับ 0.94 ค่า RMSEA เท่ากับ 0.03 ตัวแปรทั้งหมดในรูปแบบที่พัฒนาขึ้นมาสามารถอธิบายความแปรปรวนของประสิทธิภาพการบริหารสถานศึกษาในยุคเทคโนโลยีดิจิทัล ได้ร้อยละ 68 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). รายงานผลการศึกษาตัวชี้วัด ICT ด้านการศึกษาในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ปีการศึกษา 2557. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดระทรวงศึกษาธิการ.
จันทิมา รุ่งเรือง. (2563). โมเดลเชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลโรงเรียนเอกชนในยุคดิจิทัล. วารสารสังคมศาสตร์วิจัย, 11(1), 55 - 75.
จารุนันท์ ผิวรุ่งเรือง. (2564). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลที่ส่งผลต่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการบริหารจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. วารสารรัชตภาคย์, 15(39), 96 - 108.
ทรัพย์หิรัญ จันทรักษ์ และคณะ. (2561). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยบทบาทการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน. วารสารราชพฤกษ์, 16(2), 1 - 8.
นฏกร ปั้นพุ่มโพธิ์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 13(1), 81 - 96.
บุตรี แก้วอินธิ และไพฑูรย์ พวงยอด. (2565). สภาพและความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม. วารสารการบริหารนิเทศการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 13(1), 42 - 51.
ยุทธ ไกยวรรณ์. (2556). การวิเคราะห์สถิติหลายตัวแปรสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิมาล สีทอล. (2563). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดสกลนคร. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ศักดิ์นิรันดร์ วงศ์ศรีแก้ว และคณะ. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารสถานศึกษาเอกชนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดยโสธร. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 11 (1), 79 - 88.
สงบ อินทรมณี. (2562). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอิสเทิร์น, 16(1), 353 - 360.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยศึกษาหนองคาย. (2565). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. หนองคาย: กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยศึกษาหนองคาย.
สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2558). ทิศทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 - 2564. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชัน.
สุกัญญา แช่มช้อย. (2562). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.