ภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2

Main Article Content

จารุณี จารุภูมิ
รัฐพร กลิ่นมาลี
วีระยุทธ ชาตะกาญจน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาระดับประสิทธิผลของสถานศึกษา 3) ศึกษาภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาและ 4) ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 เป็นวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ ครูผู้สอน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 จำนวน 335 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 2 แบบ ประกอบด้วยแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์การถดทอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ประสิทธิผลของสถานศึกษาโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก 3) ภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันระดับสูง (r=.858) 4) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา ในแต่ละด้านปรากฏผลดังนี้ ด้านการตระหนักรู้ ผู้บริหารควรพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ ด้านการมองการณ์ไกล ผู้บริหารสามารถมองการณ์ไกล เพื่อคาดคะเนเหตุการณ์ในอนาคตได้ ด้านการเห็นอกเห็นใจ ควรเอาใจเขามาใส่ใจเรา ยอมรับและเคารพในความคิดของครู ด้านการเยียวยารักษา ผู้บริหารจะต้องมีความสามารถในการเยียวยาจิตใจตนเองและผู้อื่น ด้านความรับผิดชอบร่วมกัน ผู้บริหารสร้างการประชุมและการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ยอมรับความคิดที่แตกต่าง ด้านการโน้มน้าวใจ ผู้บริหารควรมีการแสดงออกเพื่อให้บุคลากรมีความเชื่อถือและเชื่อใจ ด้านการอุทิศตนเพื่อพัฒนาคน ผู้บริหารจะต้องอุทิศตนเพื่อพัฒนาครู พัฒนาองค์กร ด้านการสร้างกลุ่มชน ผู้บริหารจะต้องมีความสามารถในการสร้างบรรยากาศในการทำงาน

Article Details

How to Cite
จารุภูมิ จ. ., กลิ่นมาลี ร. ., & ชาตะกาญจน์ ว. (2023). ภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 10(8), 65–76. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/271406
บท
บทความวิจัย

References

เกรียงไกร ยิ่งยง และเสาวนี สิริสุขศิลป์. (2559). ภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อความเป็นเลิศของโรงเรียนคาทอลิก สังกัดมณฑลนครราชสีมา. วารสารศึกษาศาสตร์, 27(1), 143-155.

จิรวรรณ เล่งพานิชย์. (2554). โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษา สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นิพนธ์ ภู่พลลับ. (2564). รูปแบบภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 2(13), 368-384.

วินัย ฉิมวงษ์. (2542). ภาวะผู้นำเชิงจัดการและเชิงปฏิรูปของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษา จังหวัดระยอง. ใน วิทยานิพนธ์ สาขาศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.

สมชาย เทพแสง. (2556). ผู้นำยุคใหม่ หัวใจของการปฏิรูป. นนทบุรี: เกรท เอ็ดดูเคชั่น.

สัมฤทธิ์ กางเพ็ง และสรายุทธ กันหลง. (2553). ภาวะผู้นำใฝ่บริการในองค์การ:แนวคิด หลักการทฤษฎีและงานวิจัย. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

อมรรัตน์ ศรีทอง. (2558). ภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมโรงเรียนของโรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา) สาขาบัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม.

อรอุมา ไมยวงค์. (2565). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดนครพนม. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ, 10(38), 71-81.

Greenleaf, R. K. (2003). The servant leadership: A journey into the nature of legitimnate Power and greatness. NJ: Paulist Press.

Hanson, E.M. (1996). Education Administration and Organization Behavior. (4 th ed). London: A simon L Schuster.

Thompson, C.H. (2005). The public school superintendent and servant leadership. In Doctoraldissertation. Edgewood College.

Wong, N. . (2005). Servant leadership: An opponent - process model and the revisedservant Leadership profile. In Master's thesis. Regent University.