สมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อ ประสิทธิผลของโรงเรียนในเครือสารสาสน์

Main Article Content

ปาณิสรา ลบรอด
โสภณ เพ็ชรพวง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน เครือสารสาสน์ 2) ระดับประสิทธิผลในการบริหารโรงเรียนเครือสารสาสน์ 3) สมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหาร ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนเครือสารสาสน์ รูปแบบวิจัยเป็นรูปแบบประชากร ได้แก่ ครู จำนวน 7,869 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู จำนวน 367 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นและสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ.97 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) สมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารเครือโรงเรียนสารสาสน์ โดยรวมและรายด้านอยู่ระดับมาก ( = 4.06, S.D.= 0.63) เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยสูงสุดไปต่ำสุด ดังนี้ การนิเทศการจัดการเรียนรู้ ( = 4.08, S.D.= 0.62) การพัฒนาหลักสูตรและการบริหารจัดการการเรียนรู้ ( = 4.07, S.D.= 0.62) และ การส่งเสริมให้มีการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ ( = 4.02, S.D.= 0.63) 2) ประสิทธิผลของโรงเรียนสารสาสน์ โดยรวมและรายด้านอยู่ระดับมาก ( = 4.03, S.D.= 0.64) เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยสูงสุดไปต่ำสุดดังนี้ ความสามารถในการปรับเปลี่ยนและพัฒนาโรงเรียน ( = 4.04, S.D.= 0.63) ความสามารถในการแก้ปัญหาภายในโรงเรียน ( = 4.04, S.D.= 0.64) ความสามารถในการพัฒนานักเรียนให้มีทัศนคติทางบวก ( = 4.03, S.D.= 0.63) และ ความสามารถในการผลิตนักเรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง ( = 4.00, S.D.= 0.65) 3) สมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนเครือสารสาสน์ มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตัวแปรทั้ง 4 ตัวแปร ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตร การบริหารจัดการการเรียนรู้ การนิเทศการจัดการเรียนรู้ และ การส่งเสริมให้มีการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ สามารถพยากรณ์ถึงประสิทธิผลโรงเรียนเครือสารสาสน์ได้ ร้อยละ 76.30

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). หลักสูตรพัฒนาผู้นําการเปลี่ยนแปลง เพื่อรองรับการกระจายอำนาจสำหรับผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษา. นครปฐม: สถาบันพัฒนาครูคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา.

กลุ่มโรงเรียนในเครือสารสาสน์. (2565). สรุปจำนวนบุคลากร และนักเรียน ปีการศึกษา 2565. กรุงเทพมหานคร: เฟิสท์ ออฟเซท 1993.

กัญญ์ณพัชร์ เพิ่มพูล. (2561). สมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยภาคใต้. ใน วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช2551 และมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดฯ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ชฎาพร แก้วทองประเสริฐ. (2558). สมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชาตรี เกิดธรรม. (2562). ACTIVE LEARNING การจัดการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมการปฏิบัติจริง. กรุงเทพมหานคร: ครูชาตรี.

ดวงกมล สินเพ็ง. (2053). การพัฒนาผู้เรียนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ : การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธีระ รุญเจริญ. (2565). การบริหารโรงเรียนยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: เอ็กซเปอร์เน็ท.

บุญชม ศรีสะอาด, และสุธิทอง ศรีสะอาด. (2561). การวิจัยเกี่ยวกับการบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สุวิริยา.

ปริยาภรณ์ ตั้งคุณานันต์. (2562). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร: มีน เซอร์วิส ซัพพลาย.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2548). การนิเทศการสอน. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ดี.

รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2557). การนิเทศการศึกษา (Educational Supervision). (พิมพ์ครั้งที่ 5). สงขลา: นำศิลป์โฆษณา.

รุ่งนิรัญ พุทธิเสน. (2557). องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

โรงเรียนสารสาสน์พิทยา. (2557). อนุสรณ์ 50 ปี โรงเรียนสารสาสน์พิทยา พ.ศ.2507-2557. กรุงเทพมหานคร: เฟิสท์ ออฟเซท 1993.

วิจารณ์ พานิช. (2562). วิจัยชั้นเรียนเปลี่ยนครู. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักงาน.

วิราพร ดีบุญมี. (2557). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สมใจ ปิตุโส. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาเลย เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดฯ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สิริภาพรรณ ลี้ภัยเจริญ. (2564). การสรรหา การคัดเลือก และการบรรจุบุคลากรเข้าทำงาน. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรพรรณ ตู้จินดา. (2558). ประสิทธิผลของการบริหารโรงเรียนวัดปทุมวนารามโดยใช้อรพรรณโมเดล. วารสาร ศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 7(1), 32-47.

Ralph, B. K., Michael, Y. N. (1988). Education Administration. New York: Macmillan Pubishing Company.

Krejcie, R. V., and Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Norton, M. S. (2013). Competency-Based Leadership : A Guide for High Performance in the Role of the School Principal. Maryland USA: R&L Education.