รูปแบบและกระบวนสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชมที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ในการป้องกันปัญหายาเสพติดในพื้นที่ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี

Main Article Content

ดลนภา บุญเสถียร

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหายาเสพติดในพื้นที่อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี รูปแบบและกระบวนสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ในการป้องกันปัญหายาเสพติด ในพื้นที่ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี และเสนอแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมในการป้องกันปัญหายาเสพติด เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (semi structure interview form) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 30 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) ประกอบด้วย   กลุ่มเจ้าหน้าที่ ๆ เกี่ยวข้อง จำนวน 10 คน และประชาชนกลุ่มชาติพันธุ์ จำนวน 20 คน ผลการศึกษาสภาพปัญหายาเสพติดในพื้นที่ พบว่า พื้นที่สีแดง คือ ชุมชนดงสัก มีการขนส่งยาเสพติดจากประเทศเมียนมา ในส่วนรูปแบบและกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน พบว่า ชุมชนมีกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยเชิญภาคีเครือข่ายจากภาครัฐ และเอกชนร่วมประชุมรับฟังความคิดเห็นในระดับชุมชนเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดและแนวทางการแจ้งเบาะแส การจับกุมผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด การบำบัด และการติดตามผล สำหรับแนวทางในการพัฒนาการมีส่วนร่วมในการป้องกันปัญหายาเสพติด ประกอบด้วย 1) แนวทางเชิงนโยบาย ได้แก่ การแก้ปัญหายาเสพติดอย่างเข้มงวดกวดขัน บูรณาการทำงานทุกภาคส่วนให้เป็นเอกภาพ 2) แนวทางเชิงปฏิบัติ ได้แก่ การรับฟังปัญหาและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน หาแนวร่วมภาคประชาชนในแต่ละชาติพันธุ์ ให้ข้อมูลความรู้ พัฒนาทักษะการอาชีพเพื่อเสริมสร้างรายได้ให้แก่ชาวบ้าน ชุมชน และเสนอแนวทางการใช้แอพพลิเคชั่นเพื่อความสะดวกของประชาชนในการมีส่วนร่วม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เจ๊ะยารีเย๊าะ เจะโซ๊ะและคณะ. (2564). แนวทางการป้องกันการใช้สารเสพติดอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนมุสลิม. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาพใต้, 8(2), 178 - 188.

เจ้าหน้าที่ตำรวจตระเวนชายแดน. (23 ตุลาคมคม 2564). แนวทางการพัฒนาการสร้างการมีส่วนร่วมในการป้องกันปัญหายาเสพติด ในพื้นที่อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี. (ดลนภา บุญเสถียร, ผู้สัมภาษณ์)

เจ้าหน้าที่ทหารชุดมวลชนสัมพันธ์. (12 สิงหาคม 2564). สภาพปัญหายาเสพติด ในพื้นที่อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี. (ดลนภา บุญเสถียร, ผู้สัมภาษณ์)

กระทรวงยุติธรรม. (2565). แผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ.2565. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงยุติธรรม.

กัลป์ยานี สุเวทเทวิน. (2560). การพัฒนารูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในกลุ่มเยาวชนด้วยครอบครัว To Be Number One จังหวัดอำนาจเจริญ. วารสารสุขภาพภาคประชาชน ภาคอีสาน, 31(1), 33 - 41.

กิตติศักดิ์ คงธนเตชะโสภณ. (2558). บทบาทของครอบครัวในการป้องกันยาบ้าในวัยรุ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมวิทยา. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ชรัส บุญณสะ. (2561). ปัญหาในการบูรณาการการแก้ไขปัญหายาเสพติดของผู้ว่าราชการจังหวัด. วารสารดำรงราชานุภาพ, 18(57), 14 - 25.

ชาวบ้านชาวมอญ. (24 กันยายน 2564). รูปแบบและกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ในการป้องกันปัญหายาเสพติด. (ดลนภา บุญเสถียร, ผู้สัมภาษณ์)

ตะวัน ตระการฤกษ์. (2559). ต้นแบบการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในการป้องกันปราบปรามยาเสพติดของตำรวจภูธรภาค 7 . วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2), 91 - 104.

ปิยลักษณ์ โพธิวรรณ์. (2556). รายงานการวิจัยศักยภาพชุมชนในการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการจัดการปัญหายาเสพติดตามโครงการกองทุนแม่ของแผ่นดินบ้านเหล่าน้อย อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ภควดี ทองชมภูนุช และพัชรินทร์ ลาภานันท์. (2563). รายงงานการวิจัยเรื่องการท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์: อัตลักษณ์ชาติพันธุ์มอญและการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

รอฮานิ เจะอาแซ และคณะ. (2561). การพัฒนารูปแบบการป้องกันการใช้สารเสพติดโดยใช้มัสยิดเป็นศูนย์กลาง: กรณีศึกษาชุมชนมุสลิมในจังหวัดปัตตานี. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 10(1), 67 - 76.

ศักดิ์ หมู่ธิมา และบุญเอื้อ บุญฤทธิ์. (2562). การจัดการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันปัญหายาเสพติดในกรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษาเขตสวนหลวง. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 13(2), 11 - 25.

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2565). รายงานผลการดำเนินงาน ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงยุติธรรม.

สำนักงานจังหวัดกาญจนบุรี. (2565). แผนพัฒนาจังหวัดกาญจนบุรี พ.ศ. 2566 - 2570. กาญจนบุรี: สำนักงานจังหวัดกาญจนบุรี.

สุรีรัตน์ โบจรัส. (2559). การมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการพัฒนาศักยภาพชุมชนในการแก้ปัญหาการใช้สารเสพติด. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร, 7(2), 256 - 267.

Akers, R.L. (1973). Deviant Behavior: A Social Learning Approach. Belmont: Wadswordth.

Burgess, E.W. (1925). The growth of the city: An introduction to a research project. Chicago: The University of Chicago.

Cohen, A. (1955). Delinquent Boys The Culture of the Gang. Glencoe, Illinois: The Free.

Cohen, J.M., & Uphoff, N.T. (1981). Rural Development Participation: Concept and Measure for Project Design Implementation and Evaluation: Rural Development Committee Center for international Studies. New York: Cornell University.

Hirschi, T. (1969). Causes of Delinquency. Berkeley, CA: Univercity of California.

Mathna, B.E. et al. (2023). A Comparison of Self - Control Measures and Drug and Alcohol Use among College Students. Midwest Social Sciences Journal, 23 (1), 31 - 53.

Merton, R. K. (1957). Social Theory and Social structure. Glencoe, III: The Free.

Wilson, O. W. & Mclaren, R. C. (1973). Police Administration. New York: McGraw - Hill.

Wu, G. et al. (2021). Do Social Bonds Matter? Social Control Theory and Its Relationship to Desistance From Substance Abuse in China. Journal of Drug Issues, 51(1), 50–67.