แนวทางการพัฒนาหลักสูตรภาษาธรรมชาติระดับปฐมวัย ในโรงเรียนเครือข่าย พัฒนาคุณภาพการศึกษา สิชล 2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ภาษาธรรมชาติระดับปฐมวัย 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาหลักสูตรภาษาธรรมชาติระดับปฐมวัย 3) เพื่อนำเสนอแนวทางไปใช้ในการพัฒนาหลักสูตรภาษาธรรมชาติระดับปฐมวัย ในโรงเรียนเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา สิชล 2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 ใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลการศึกษาสภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 15 คน การศึกษาแนวทางโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน และการนำเสนอแนวทางโดยการสนทนากลุ่ม ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิธีพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการจัดการเรียนรู้ภาษาธรรมชาติระดับปฐมวัย ได้มีการจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศให้เด็กได้คุ้นเคยกับการใช้ภาษา โดยไม่บังคับหรือสอนให้ท่องจำ แต่จะส่งเสริมให้เด็กกล้าใช้ภาษาได้ด้วยตัวเอง ซึ่งภายในชั้นเรียนจะจัดให้มีมุมที่มีการส่งเสริมเรื่องภาษาอย่างชัดเจน เด็กเกิดความคุ้นเคยกับตัวหนังสือและได้รับประสบการณ์ทางภาษา ทำให้เด็กสามารถที่จะเรียนรู้ภาษาได้ด้วยตนเองจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวและเข้าใจในความหมายของคำนั้น ๆ ซึ่งทำให้ความสามารถด้านการอ่านและการเขียนของเด็กดีขึ้น 2) แนวทางการพัฒนาหลักสูตรภาษาธรรมชาติระดับปฐมวัย ประกอบด้วย ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตร ดังนี้ (1) ขั้นศึกษาวิเคราะห์ความต้องการ (2) ขั้นกำหนดจุดมุ่งหมาย (3) ขั้นเลือกเนื้อหาสาระ (4) ขั้นจัดรวบรวมเนื้อหาสาระ (5) ขั้นคัดเลือกการจัดประสบการณ์เรียนรู้ (6) ขั้นจัดประสบการณ์ในการเรียนรู้ (7) ขั้นกำหนดสิ่งที่จะประเมินผลและวิธีการประเมินผล 3) ผลการการนำเสนอแนวทางการพัฒนาหลักสูตรภาษาธรรมชาติระดับปฐมวัย ในโรงเรียนเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา สิชล 2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 ผู้ทรงคุณวุฒิในการสนทนากลุ่มมีความเห็นว่า มีความเป็นไปได้ เหมาะสม และเป็นประโยชน์ ในการดำเนินงาน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภาลาดพร้าว.
การแสวงหาความรู้ตามอัธยาศัย กศน. (2563). ความสำคัญของการศึกษา. เรียกใช้เมื่อ 19 มกราคม 2565 จาก http://www.clarissaforoaklandschools.com
ฐานิศ หริกจันทร์. (3 สิงหาคม 2564). การจัดประสบการณ์ให้แก่เด็กปฐมวัยของแต่ละโรงเรียนในเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา สิชล ๒ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต ๔. (ศุภางค์ญธิรา ปานจันทร์, ผู้สัมภาษณ์)
บ้านจอมยุทธ. (2543). จิตวิทยาพัฒนาการมนุษย์ จิตวิทยาพัฒนาการวัยเด็กตอนต้น (Early Childhood). เรียกใช้เมื่อ 19 สิงหาคม 2564 จาก https://www.baanjomyut.com/library_2/extension-1/concepts_of_developmental_psychology/01_11.html
พระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย. (2562). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนที่ 56 ก หน้า 6 (30 เมษายน 2562).
พัชราภรณ์ กุณแสงคำ. (2563). แนวทางการบริหารหลักสูตรและการจัดประสบการณ์ของครูปฐมวัยในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1. วารสาร ศึกษาศาสตร์สารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 4(3), 46-47.
รติรัตน์ คล่องแคล่ว. (2551). ผลการจัดประสบการณการเรียนรูตามแนวทางภาษาแบบธรรมชาติ ที่มีต่อทักษะการพูดภาษาไทยของเด็กปฐมวัยไทยอีสาน. ใน ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4. (2563). แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2663 – 2565. นครศรีธรรมราช: สำนักพิมพ์เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4.
อรทัย หงส์ภู่. (2558). การพัฒนาหลักสูตรปฐมวัยกรณีศึกษาโรงเรียนเทศบาลป้อมแผลงไฟฟ้า จังหวัดสมุทรปราการ. วารสาร บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 7(1), 95-96.
Young City. (2018). Teaching natural language teaching (Whole Language) for early childhood. Retrieved August 19, 2021, from https://www.youngciety.com/article/journal/whole-language.html