การเปิดรับข่าวสารผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ออนไลน์กับภาพลักษณ์ของ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรีในมุมมองของนักศึกษา

Main Article Content

กัญญา บูรณเดชาชัย
กฤติญา กวีจารุกรณ์
ณภาเกตุ โรจนสร้างสกุล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการเปิดรับข่าวสารประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรีในมุมมองของนักศึกษา 2) เพื่อศึกษาภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรีในมุมมองของนักศึกษา และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรีกับการเปิดรับข่าวสารประชาสัมพันธ์ออนไลน์ เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ ประเภทการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ นักศึกษาในระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี โดยใช้แบบสอบถามจำนวน 396 ชุด มีวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน จากนั้นมีการใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถามปลายปิดและเปิด จำนวน 3 ตอน สถิติที่ใช้ คือ การหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า 1) มีการเปิดรับข่าวประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ในช่องทาง Facebook เพจมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ที่ระดับมากที่สุด ( = 4.62) 2) ความรู้สึกต่อภาพลักษณ์โดยรวมของมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรีอยู่ในระดับดีมาก ( = 4.57) 3) ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรีภาพรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการรับรู้ข่าวสารประชาสัมพันธ์ออนไลน์ที่ความสัมพันธ์ในระดับมาก (r = .600) มีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 ซึ่งนั้นสะท้อนให้เห็นว่า เมื่อสื่อมีการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สื่อออนไลน์หรือสื่อใหม่มากขึ้น จึงทำให้สามารถเข้าใช้งานได้ทุกที่ ทุกเวลา อย่างไร้พรมแดน อันส่งผลให้เกิดการเปิดรับสื่อได้ง่ายตามความประสงค์ของผู้รับสาร ซึ่งการเปิดรับสื่อในเวลาและสถานที่ที่ไม่จำกัดนี้ส่งผลให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กรได้อย่างมีความสัมพันธ์กัน ซึ่งภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กรนั้นก็เป็นผลมาจากการที่องค์กรนั้นมีการใช้สื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์องค์กรอย่างต่อเนื่องนั่นเอง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัญญา ศิริสกุล และคณะ. (2552). หลักการประชาสัมพันธ์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ขวัญฤทัย สายประดิษฐ์. (2551). บทบาทนักประชาสัมพันธ์กับการประชาสัมพันธ์ในสื่อใหม่ ตอนที่1. ใน เรื่อง พัฒนาเทคนิคศึกษา. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ณัฐวิโรจน์ มหายศ และคณะ. (2562). การเปิดรับข่าวสารผ่านการสื่อสารองค์กรกับภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยบูรพา ในมุมมองของนิสิต วิทยาเขตบางแสน. เรียกใช้เมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2566 จาก http://www.huso.buu.ac.th/Conference/HUSO62/proceeding/319/2natwi.pdf

ธิดาพร ชนะชัย. (2550). ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการพัฒนาบุคลิกภาพของผู้อ่านนิตยสาร CLEO. ใน ดุษฎีนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารมวลชน. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

นิติยา ศรีพูล. (2554). ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยในจังหวัดสงขลาตามทัศนะของประชาชน. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

นุชนารถ อินทโรจน์และคณะ. (2553). ภาพลักษณ์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ในทัศนะประชาชนจังหวัดปทุมธานี. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

มานิตย์ รัตนสุวรรณ. (2546). โฆษณาเพื่อการประชาสัมพันธ์. กรุงเทพมหานคร: พิฆเนศ.

วงศ์พัฒนา ศรีประเสริฐและคณะ. (2554). ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อและบริโภคข้าวกล้องของผู้บริโภค ในเขตอําเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 5(3), 137-151.

Anderson, P. M. &Rubin, L. G. (1986). Marketing communications. Cornell University: Prentice Hall.

Gregory & Wiechmann. (2001). Modeling corporate identity: a concept explication and theoretical explanation", Corporate Communications. An International Journal, 6(4), 173-182.

Robinson, J. P. (1972). Mass communication and information diffusion. In F. G. Kline & P. J. Tichenor (Eds.). In Current perspectives in mass communication research. London: Sage.

Wertime, K et al. (2011). DigiMarketing: The essential guide to new media and digital marketing. London: John Wiley & Sons.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis 3rd Edition. New York: Harper & Row Ltd.