ประสิทธิภาพการดำเนินงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการดำเนินงานวิชาการของโรงเรียนตามทัศนะของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 2) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการดำเนินงานวิชาการของโรงเรียนตามทัศนะของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 ตามตัวแปรเพศ ประสบการณ์การปฏิบัติงานของครู อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การปฏิบัติงานของผู้บริหาร และขนาดของโรงเรียน 3) เพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวการดำเนินงานวิชาการของโรงเรียนตามทัศนะของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ข้าราชการครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 335 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Krejcie & Morgan ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วน 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นโดยรวมของแบบสอบถามทั้งฉบับได้ .989 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และวิเคราะห์ค่าความแตกต่างรายคู่ ตามวิธีการของ Fisher's Least Significant Difference (LSD) ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพการดำเนินงานวิชาการของโรงเรียนตามทัศนะของครู โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับดีมากทุกด้าน โดยเรียงตามอันดับจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก คือ ด้านการวัดผลประเมินผลและการเทียบโอนผลการเรียน รองลงมา คือ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ และด้านการนิเทศการศึกษา ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา 2) ผลการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการดำเนินงานวิชาการของโรงเรียนตามทัศนะของครู พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตามตัวแปรเพศ และประสบการณ์การปฏิบัติงานของครู และขนาดของโรงเรียน ส่วนอายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์การปฏิบัติงานของผู้บริหารไม่แตกต่างกัน 3) ปัญหาครูบางส่วนเห็นว่าผู้บริหารยังขาดการนำภูมิปัญญาท้องถิ่น เครือข่ายผู้ปกครองและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ การบูรณาการเนื้อหาในกลุ่มสาระและระหว่างกลุ่มสาระยังไม่ดีพอ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ตามกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. 2550. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.
จิรวรรณ อังศุชวาลวงศ์. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดเทศบาลเมืองทุ่งสง. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.
จีรวิทย์ มั่นคงวัฒนะ. (2553). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. เรียกใช้เมื่อ 17 กรกฎาคม 2565 จาก https://www.gotoknow.org/posts/344746
ปริญญา ใจดี. (2562). ประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการตามทัศนะของครูและผู้บริหารในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกระบี่. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. (2542). การปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภาลาดพร้าว.
มูนา จารง. (2560). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถนศึกษาตามทัศนะครูผู้สอนในศูนย์เครือข่ายตลิ่งชัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
วราพร สินศิริ. (2564). การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.
วริทธิ์สิน ไชยอัษฎาพร. (2563). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ศิวพร ละหารเพชร. (2562). ประสิทธิผลการบริหารงานวิซาการสถานศึกษาขนาดเล็กตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2. (2564). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2564. นครศรีธรรมราช: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2535). แผนการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2535. กรุงเทพมหานคร: ฟันนี่พับลิชชิ่ง.
ฮาบีด๊ะ ราเย็น. (2562). สมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูปฐมวัยในโรงเรียนเอกชน จังหวัดตรัง. ใน สารนิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Journal of Educational Measurement and Psychology, 30(3), 607- 610.
Likert. (1970). New Partterns of Management. New York: McGraw-Hill.