การตีตราและเลือกปฏิบัติต่อแรงงานที่มีความหลากหลายทางเพศ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ อภิปรายการตีตราและการเลือกปฏิบัติของแรงงานที่มีความหมากหลายทางเพศ ซึ่งในปัจจุบันแม้ว่าจะมีการเปิดกว้างในเรื่องของความหลากหลายทางเพศแล้วก็ตาม แต่ก็ยังเกิดประเด็นปัญหาการตีตราและเลือกปฏิบัติอหลงเหลืออยู่ ในฐานะของแรงงานที่มีความหลากหลายทางเพศทั้งภาครัฐและเอกชนยังมีความกังวลในหลายประเด็นที่ยังเป็นปัญหาต่อการทำงาน ซึ่งจะต้องใช้ความรู้ ความสามารถเข้ามาแลกกับการทำงานที่ถูกตีตราและเลือกปฏิบัติต่อความหลากหลายมางเพศที่เป็นอยู่ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาและอุปสรรคต่อการทำงานในทุกภาคส่วน ซึ่งการกีดกันหรือการเลือกปฏิบัติของเพื่อร่วมงานจะไม่ค่อยกล้าแสดงอย่างเปิดเผย เป็นการซุบซิบนินทา การดูถูกเหยียดหยาม ดังนั้น จึงต้องพยายามพิสูจน์ด้วยผลงาน ความรู้และความสามารถ เพื่อการยอมรับคนเพศตรงข้ามในฐานะแรงงาน รวมถึงการแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์ในแบบฉบับของกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศแบบผิด ๆ ที่ว่าเป็นคนผิดปกติหรือเจ็บป่วยทางจิต หรือเป็นปัญหาทางเพศ ทั้งนี้ ปัญหาดังกล่าวจะแก้ไขได้นั้น ต้องแก้ไขที่กฎหมายแม่ที่เป็นร่มใหญ่ของกฎระเบียบทั้งหมด คือ กฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 เพื่อส่งผลให้ปัญหาอื่นแก้ไขได้ง่ายขึ้น และลดความกังวลให้กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ และท้ายที่สุดการตีตราและเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศทั้งที่มีอาชีพประจำและอาชีพอิสระ อันเป็นแรงงานที่ขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจให้มีความก้าวหน้าได้อย่างต่อเนื่องและทัดเทียมกับอารยประเทศ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กังวาฬ ฟองแก้ว. (2563). เรื่องราวแห่งการตีตรา: การศึกษาการตีตราและการเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มบุคคลข้ามเพศในประเทศไทย. ใน รายงานการวิจัย. โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ.
ชเนตตรี ทินนาม และคณะ. (2564). ยุทธศาสตร์สุขภาวะ LGBTIQN+ ในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เดือนตุลา.
ทีเอ็นเอ็น ออนไลน์. (2566). ตร.ควงแฟนหนุ่มจดทะเบียน ครอบครัว-เพื่อน ยอมรับในตัวตน. เรียกใช้เมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2566 จาก https://www.tnnthailand.com/news/social/138662/
ธนาศาน สุภาษี. (2563). การตีตราและเลือกปฏิบัติต่อเพศวิถีในโลกแห่งการทางานกรณีศึกษาอาชีพข้าราชการครูโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร . ใน สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะสำหรับนักบริหาร. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
บุษกร สุริยสาร. (2557). อัตลักษณ์และวิถีทางเพศในประเทศไทย. ใน รายงานการวิจัย. องค์การแรงงานระหว่างประเทศ.
พิมพวัลย์ บุญมงคล และคณะ. (2551). ภาษาเพศในสังคมไทย: อำนาจ สิทธิ และสุขภาวะทางเพศ. กรุงเทพมหานคร: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.
พิริยาภรณ์ อันทอง และศุภกร เอกชัยไพบูลย์. (2559). Checklist พิชิตธุรกิจยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์พัฒนาความรับผิดชอบต่อสังคม ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.
สุไลพร ชลวิไล. (2550). เพศไม่นิ่ง: ตัวตน เพศภาวะ เพศวิถี ในมิติสุขภาพ. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.
สุไลพร ชลวิไล. (2562). เพศแห่งสยาม. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ.
สุวิชา เป้าอารีย์. (2565). สังคมไทยคิดอย่างไรกับเพศที่ 3, ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. เรียกใช้เมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2566 จากhttps://nidapoll.nida.ac.th/data/survey/uploads/FILE-1654933256095.pdf
Alex Flagg. (2002). Managing diverse workgroups successfully. USA: United Behavioral Health.
Danielle Agugliaro. (2021). 31 Companies with Impactful Initiatives to Support Their LGBTQ Employees. Retrieved กุมภาพันธ์ 10, 2566, from https://ripplematch.com/insights/companies-with-impactful-initiatives-to-support-their-lgbtq-employees-ce4be06a/
Erving Goffman. (1963). Stigma: Note on the Management of Spoiled Identity. Harmondsworth: Penguins Book.
Gregory M. Herek. (2007). Confronting Sexual Stigma and Prejudice: Theory and Practice. Journal of Social Issues, 4 (2007), 905–925.
International Bank for Reconstruction and Development / The World Bank. (2018). Economic Inclusion of LGBTI Groups in Thailand. Washington DC: The World Bank.
McKinsey. (2020). Benefit of Workplace Diversity: The Value of LGBTQ Employees. Retrieved กุมภาพันธ์ 10 , 2566, from https://www.peoplescout.com/insights/workplace-diversity-lgbtq-employees/
Peter Hegarty & Annette Smith. (2022). Public understanding of intersex: an update on recent findings International . Journal of Impotence Research, 14(2022), 1-6.
USAID. (2020). Being LGBT in Thailand. Retrieved February 10, 2566, from https://www.usaid.gov/sites/default/files/documents/1861/Being_LGBT_in_Asia_ThailandCountry_Report_Thai_Language.pdf