การพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยการจัดการเรียนรู้ แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค SQ4R ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

สุไรยา ศรีอาหมัด
เก็ตถวา บุญปราการ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค SQ4R ระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้รูปแบบการวิจัยกึ่งทดลอง ผู้วิจัยได้ดำเนินการทดลองตามแบบแผนการวิจัยกลุ่มเดียว ที่มีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนส่งเสริมวิทยามูลนิธิ ตำบลคูเต่า อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 1 ห้องเรียน นักเรียนจำนวน 40 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม ทั้งนี้เนื่องจากนักเรียนทั้ง 4 ห้อง มีความสามารถ เก่งปานกลาง อ่อน คละกัน โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค SQ4R ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 4 แผน แผนละ 3 ชั่วโมง รวม 12 ชั่วโมง 2) แบบวัดทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจแบบปรนัย จำนวน 30 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 1) สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ค่าความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนก ค่าความเชื่อมั่น 3) สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานการวิจัยโดยใช้ค่าที t - test dependent ผลการวิจัยพบว่า ผลการเปรียบเทียบทักษะการอ่านภาษาอังกฤษโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค SQ4R ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียน (  = 20.07, S.D. = 3.58) สูงกว่าก่อนเรียน (  = 12.43, S.D. = 3.14) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

How to Cite
ศรีอาหมัด ส. ., & บุญปราการ เ. . (2023). การพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยการจัดการเรียนรู้ แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค SQ4R ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 10(7), 33–39. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/270675
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับ ปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ฐิติวรดา พิมพานนท์. (2560). การพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ SQ4R ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

พนอ เล็ดรอด. (2560). การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้และความพึงพอใจในวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้วิธีการสอนแบบร่วมมือ (STAD) และวิธีการสอนแบบปกติ. ใน สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒประสานมิตร.

ศกุนิชญ์ ตรีประทุม และคณะ. (2558). การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจด้วยกิจกรรมแบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับแบบฝึกทักษะการอ่านสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารช่อพะยอม, 26(1), 183-191.

สุคนธ์ สินธพานนท์และคณะ. (2554). วิธีสอนตามแนวปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพเยาวชน. กรุงเทพมหานคร: เทคนิคพริ้นติ้ง.