อิทธิพลของสภาพแวดล้อมการทำงาน คุณภาพการบริการและภาพลักษณ์ขององค์กร:กรณีศึกษา ร้านกาแฟแกะดำในจังหวัดนครสวรรค์

Main Article Content

วิรุณ อินทร์สิงห์ทอง
วินัย รังสินันท์
จรรยาภรณ์ บุญพะยอม
ชูศักดิ์ เพชรกระจ่าง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอิทธิพลทางตรงและอิทธิพลรวมของสภาพแวดล้อมการทำงาน คุณภาพการบริการกับภาพลักษณ์ขององค์กร โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ลูกค้าผู้ใช้บริการร้านกาแฟแกะดำในจังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 382 คน สุ่มตัวอย่างโดยสะดวก เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และค่าสัมประสิทธิ์เส้นทาง ค่าอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลรวม ผลการวิจัยพบว่า ตัวแปรสภาพแวดล้อมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ตัวแปรคุณภาพการบริการในภาพรวมอยู่ในระดับมากและตัวแปรภาพลักษณ์ขององค์กรในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และพบว่า สภาพแวดล้อมการทำงานมีอิทธิพลทางตรงต่อคุณภาพการบริการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (DE = .888, p = .01) สภาพแวดล้อมการทำงานสามารถอธิบายความผันแปรของคุณภาพการบริการได้ร้อยละ 78.90 สภาพแวดล้อมการทำงาน
มีอิทธิพลทางตรงต่อภาพลักษณ์ขององค์กรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (DE = .805, p = .01) สภาพแวดล้อมการทำงานสามารถอธิบายความผันแปรของภาพลักษณ์ขององค์กรได้ร้อยละ 64.70 คุณภาพการบริการมีอิทธิพลทางตรงต่อภาพลักษณ์ขององค์กรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (DE = .834, p = .01) คุณภาพการบริการสามารถอธิบายความผันแปรของภาพลักษณ์ขององค์กรได้ร้อยละ 69.60 และสภาพแวดล้อมการทำงานและคุณภาพการบริการมีอิทธิพลโดยรวมต่อภาพลักษณ์ขององค์กรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (TE = .868, p = .01) และสภาพแวดล้อมการทำงานและคุณภาพการบริการสามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรของภาพลักษณ์ขององค์กรได้ร้อยละ 75.30

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2551). การวิเคราะห์ข้อมูลหลายตัวแปร. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: ธรรมสาร.

ชโลธร ด่านรักสวย. (2559). การแบ่งกลุ่มผู้ใช้บริการร้านกาแฟ คาเฟ่ อเมซอน ในดิสเคาน์สโตร์ เขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้ปัจจัยด้านพฤติกรรมการซื้อและความพึงพอใจต่อคุณภาพการบริการ. ใน สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาดบัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

นงลักษณ์ ใจซื่อ. (2559). ความคาดหวังกับความพึงพอใจต่อการให้บริการธุรกิจร้าน Black Canyon กับร้าน S&P Blue Cup ในจังหวัดราชบุรี. ใน สารนิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

ประพัฒน์ โพธิ์สุ. (2564). ปัจจัยด้านคุณภาพการบริการภาพลักษณ์องค์กรและการสื่อสารแบบปากต่อปากที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชัน Grab ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. ใน สระนิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาบริหารธรุกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ศุภลักษณ์ พรมศร. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมในการทำงาน การรับรู้รูปแบบภาวะผู้นำของพนักงาน ความผูกพันในงานกับความพึงพอใจในงาน. ใน วิทยานิพนธ์นี้ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2552). เทคนิคการวิเคราะห์ตัวแปรหลายตัวสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: สามลดา.

Bovée, C. L. & Thill, John V. (1992). Business Communication Today. (3rd ed.). New York: McGraw - Hill.

Cameron, E., & Green, M. (2015). Making Sense of Change Management: A Complete Guide to the Models, Tools and Techniques of Organizational Change. London: Kogan Page.

Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques. (3rd ed.). New York: John Wiley and Sons Inc.

Cox, T., & Ferguson, E. (2007). Measurement of the Subjective Work Environment. Journals & Books, 8(2), 98 - 109.

Etzel, M. J. (2014). Marketing. (12th ed.). New York: McGraw - Hill/lrwin.

James, L. A., & James, L. R. (1989). Integrating Work Environment Perceptions: Explorations into the Measurement of Meaning. Journal of Applied Psychology, 74(5), 739 - 751.

Kotler, P. (2000). Marketing Management. The Millennium edition. New Jersey: Prentic - Hall.

Kotler, P., & Armstrong, G. (2021). Principles of Marketing. (18th ed.). New York: Pearson Education.

Lai, W. T., & Chen, C. F. (2011). Behavioral Intentions of Public Transit Passengers - The Roles of Service Quality, Perceived Value, Satisfaction and Involvement. Transport Policy, 18(2), 318 - 325.

Marquardt, M. J. (2002). Building the Learning Organization: A System Approach to Quantum Improvement and Global Success. New York: McGraw - Hill.

Moreau, F, B., & Parguel, B. (2011). Building Brand Equity with Environmental communication: An Empirical Investigation in France. Euro Med Journal of Business, 6(1), 100 - 1116.

Parasuraman, et al. (2006). Perceived Service Quality as a Customer - Based Performance Measure: An Empirical Examination of Organizational Barriers Using an Extended Service Quality Model. Journal of Marketing, 30(3), 335 - 364.