ภาวะผู้นำของผู้บริหารในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมของครู ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1

Main Article Content

รอดีมะห์ ยีเจ๊ะสะมะ
นิลรัตน์ นวกิจไพฑูรย์
นพรัตน์ ชัยเรือง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารในศตวรรษที่ 21 2) ศึกษาการทำงานเป็นทีมของครูในสถานศึกษา 3) ศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 โดยใช้รูปแบบการวิจัยเป็นวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 297 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำของผู้บริหารการศึกษาในศตวรรษที่ 21 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ระดับการทำงานเป็นทีมของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นการศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 พบว่าการทำงานเป็นทีมของครูในสถานศึกษา ด้านการติดต่อสื่อสาร ด้านความร่วมมือ ด้านการประสานงาน ด้านการมีความคิดสร้างสรรค์ ด้านการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารในศตวรรษที่ 21 กับการทำงานเป็นทีมของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 พบว่า โดยภาวะผู้นำของผู้บริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารทุกด้านคือ ด้านผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ ด้านผู้นำที่มีศิลปะในการนำ ด้านผู้นำที่มีอิทธิพลต่อเพื่อนร่วมงาน ด้านผู้นำเชิงจริยธรรม ด้านผู้นำดิจิตอล ด้านผู้นำการเปลี่ยนแปลง และการทำงานเป็นทีมของครูในสถานศึกษา ด้านการติดต่อสื่อสาร ด้านความร่วมมือ ด้านการประสานงาน ด้านการมีความคิดสร้างสรรค์ ด้านการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ภาพรวมมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง (r=.832) และมีความสัมพันธ์ทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรรณิการ์ ทองใบ และประเสริฐ อินทร์รักษ์. (2564). บทบาทผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับการทำงานเป็นทีมของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(1), 312-328.

ชมพู โกติรัมย์. (2552). ศตวรรษที่ 21 ปัจจัยการผลิตที่ท้าทายก้าวย่างที่ต้องปรับของไทย. ใน รายงานวิจัย. มหาวิยาลัยศรีปทุม.

เปรมชัย ปิยะศิลป์ และธัชชัย จิตรนันท์. (2565). การพัฒนาแนวทางการทำงานเป็นทีมของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, 6(2), 410-420.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2556). กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษา กรณีทัศนะต่อการศึกษาศตวรรษที่ 21. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: ทิพยวิสุทธิ์.

สันติ บุญภิรมย์. (2552). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: บุ๊ค พอยท์.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานีเขต 1. (2562). การวิจัยนี้จะช่วยให้มีการพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาให้เป็นผู้บริหารที่มีภาวะผู้นำ. เรียกใช้เมื่อ 20 มีนาคม 2566 จาก https://www.surat1.go.th/index.php?d=page&id=133

สุธิกานต์ บริเอก. (2564). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครูผู้สอน ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สุมาพร ทำนอง. (2554). ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนตามทัศนะของครูผู้สอนโรงเรียนในกลุ่มวิภาวดี สังกัดกรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์ ค.ม. กรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

Bass, B. M., & Avolio, B. J. (1994). Transformational Leadership Development. Pola Alto, California: Consulting Psychologists.

Blase, Joseph & Blase, Jo. (2001). Empowering Teacher: What Successful Principals Do. Thousand Oaks: Corwin Press.

Krejcie & Morgan. (1970). Approach in Quantitative Research. วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์, 7(2), 112-125.