การพัฒนาทักษะการเป่าขลุ่ยเพียงออโดยการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการปฏิบัติร่วมกับแบบฝึกทักษะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสทิงพระวิทยา อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา

Main Article Content

วรเพชร พหุโล
เก็ตถวา บุญปราการ
ชุติมา ทัศโร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะปฏิบัติการเป่าขลุ่ยเพียงออโดยการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการปฏิบัติร่วมกับแบบฝึกทักษะระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน 2) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อ การจัดการเรียนรู้ทักษะการเป่าขลุ่ยเพียงออโดยการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการปฏิบัติร่วมกับแบบฝึกทักษะ ใช้วิธีวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสทิงพระวิทยา อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา จำนวน 36 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่มโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้กระบวนการปฏิบัติ จำนวน 4 แผน 12 ชั่วโมง แบบประเมินทักษะปฏิบัติการเป่าขลุ่ยเพียงออ แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยการประเมินความเหมาะสม พบว่า ผ่านเกณฑ์ แบบสอบถามความพึงพอใจได้ค่าความเที่ยงตรง .67 - 1.00 ได้ค่าความเชื่อมั่น .98 ผ่านเกณฑ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะปฏิบัติการเป่าขลุ่ยเพียงออโดยการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการปฏิบัติร่วมกับแบบฝึกทักษะหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 2) ความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ทักษะการเป่าขลุ่ยด้วยกระบวนการปฏิบัติร่วมกับแบบฝึกทักษะโดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด (  = 4.74, S.D.= 0.44) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด คือ กิจกรรมการเรียนรู้ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง (  = 4.89, S.D. = 0.32) รองลงมา ได้แก่ นักเรียนชอบที่ได้ฝึกปฏิบัติจากเครื่องดนตรีจริง (  = 4.86, S.D. = 0.35) นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียน และพอใจที่ได้เรียนรู้การเป่าขลุ่ยเพียงออ (  = 4.83, S.D. = 0.38)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุศยา แสงเดช. (2545). คู่มือการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญระดับประถมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: แม็ค.

จรัญ กาญจนประดิษฐ์. (2554). ขลุ่ยเพียงออ. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ธรนัส หินอ่อน. (2557). การประสมวงดนตรีไทย. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นพชัย อุปชิต. (2558). ผลการใช้ชุดฝึกทักษะดนตรีไทยตามแนวคิดซูซูกิ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่องเสียงใสขลุ่ยเพียงออ. ใน วิทยานิพินธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2562). เกณฑ์การให้คะแนน: เครื่องมือสำหรับครูเพื่อประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ที่เที่ยงตรงและยุติธรรม. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ, 12(1), 1 - 16.

โรงเรียนสทิงพระวิทยา. (2564). การจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระศิลปะ. สงขลา: โรงเรียนสทิงพระวิทยา.

วรรณกร สุวรรณวงศ์. (25 กรกฎาคม 2564). ปัญหาการเรียนการสอนรายวิชากลุ่มสาระศิลปะ รายวิชาดนตรีของโรงเรียนสทิงพระวิทยา. (วรเพชร พหุโล, ผู้สัมภาษณ์)

วันวิสาข์ ภูมิสายดอน. (2560). การพัฒนาทักษะการเป่าขลุ่ยเพียงออของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ (Davies). ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

วิไลพร ภูมิเขตร์. (2560). การพัฒนาทักษะการเป่าขลุ่ยเพียงออโดยใช้กระบวนการปฏิบัติประกอบแบบฝึกทักษะ. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.

วิไลวรรณ เชื้ออุ่น. (2543). แผนการสอนที่เน้นทักษะกระบวนการเรื่องการทำความสะอาดเสื้อผ้ากลุ่มการงานและพื้นฐานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. ใน รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2560 - 2579. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ตามหลักสูตรแกนกลางสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สุรเชษฐ์ เปล่งประดับ และเก็ตถวา บุญปราการ. (2566). การพัฒนาทักษะการเป่าขลุ่ยเพียงออโดยใช้ชุดฝึกทักษะปฏิบัติของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านหน้าควนลัง (ราษฎร์สามัคคี) อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. สงขลา: สำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper Collins. Publishers.