ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร ที่ส่งผลต่อคุณภาพการจัดการศึกษา ของสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครศรีธรรมราช เขต 1

Main Article Content

จตุพงศ์ ทองนวล
อรรครา ธรรมาธิกุล
วีระยุทธ ชาตะกาญจน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะผู้นําทางวิชาการ ศึกษาคุณภาพการจัดการศึกษา และเพื่อสร้างสมการพยากรณ์ภาวะผู้นําทางวิชาการที่ส่งผลต่อคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครศรีธรรมราช เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ ครูและบุคลากร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 จำนวน 306 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า 1) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการส่งเสริมบรรยากาศทางวิชาการของโรงเรียน ด้านการกำหนดเป้าหมายและภารกิจของโรงเรียน ด้านการนิเทศการศึกษาและด้านการจัดการเรียนการสอน ตามลำดับ 2) คุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อย ได้แก่ ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา และ ด้านคุณภาพผู้เรียน ตามลำดับ 3) ภาวะผู้นําทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยด้านการกำหนดเป้าหมายและภารกิจของโรงเรียน และด้านการนิเทศการศึกษา สามารถพยากรณ์คุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา โดยรวมได้ร้อยละ 49.3 สามารถสร้างเป็นสมการถดถอยในรูปคะแนนดิบและในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ สมการถดถอยในรูปคะแนนดิบ tot=1.822+.156(X1)+433(X4) สมการถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐาน tot = .233(X1) + .578(X4)

Article Details

How to Cite
ทองนวล จ. ., ธรรมาธิกุล อ. ., & ชาตะกาญจน์ ว. . (2023). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร ที่ส่งผลต่อคุณภาพการจัดการศึกษา ของสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครศรีธรรมราช เขต 1. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 10(6), 75–85. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/270298
บท
บทความวิจัย

References

เนตรนภา เจตน์จำนงค์. (2564). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นำและนวัตกรรมการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยสยาม.

เนติ์ มโนปัญญา. (2565). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: ดอกหญ้า.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2545). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: เฮ้าส์ ออฟ เคอร์มีสท์.

มานพ ศรีตะโกเพชร. (2559). ภาวะผู้นําทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

รุ่ง แก้วแดง. (2545). ปฏิวัติการศึกษาไทย. กรุงเทพมหานคร: มติชน.

สมโชค มีเสียง. (2559). ภาวะผู้นําทางวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนราชประชานุเคราะห์สังกัดสํานักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

สรายุทธ สิมมาจันทร์. (2563). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อ ประสิทธิผลการบริหารวิชาการของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครพนม เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สัจจะพร วิริยะจรรยา. (2559). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นําทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน ขนาดเล็ก ในสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา. ใน ดุษฎีนิพนธ์ ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นําทางการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2557). รายงานการวิจัยแนวทางการพัฒนาการศึกษาไทยกับ การเตรียมความพร้อมศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

อุทุมพร จามรมาน. (2541). การประกันคุณภาพระดับอุดมศึกษาตามเกณฑ์ของทบวงมหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Davis, G. A. and Thomas, M. A. . (1989). Effective School and Effective Teachers. Boston, MA: Allyn and Bacon.

Hallinger, P. and Murphy, J. (1985). Assessing the Instructional Management Behaviors of Principals. Elementary School Journal, 86(2), 217 - 248.

McEwan, E.K. (1998). Seven Steps to Effective Instructional Leadership. California: Library of Congress.