ส่วนประสมทางการตลาดเพื่อส่งเสริมกลุ่มผู้ประกอบการ แปรรูปสมุนไพรหญ้าเอ็นยืด

Main Article Content

สมชาย ศรีทนุ
ตระกูล จิตวัฒนากร
บุษกร วัฒนบุตร

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงคเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพปัญหาที่เป็นอุปสรรค์ต่อการดำเนินกิจการของกลุ่มผู้ประกอบการแปรรูปสมุนไพรหญ้าเอ็นยืดในประเทศไทย 2) นำเสนอความรู้ทั่วไป สภาพปัญหา และสรรพคุณของสมุนไพรหญ้าเอ็นยืด และ 3) นำเสนอส่วนประสมทางการตลาด (Marketing Mix: 4Ps) ที่จะช่วยส่งเสริมการดำเนินกิจการของกลุ่มผู้ประกอบการดังกล่าว ข้อค้นพบในการศึกษาครั้งนี้ได้มาจากการรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการสรุปและตีความจากเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1) กลุ่มผู้ประกอบการดังกล่าว ส่วนใหญ่มีลักษณะการดำเนินกิจการแบบผู้ประกอบการรายเดียว และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนขนาดเล็ก มีทุนทรัพย์น้อย และมีรายได้ไม่แน่นอน ผู้ประกอบการเหล่านี้ต่างประสบปัญหาการดำเนินกิจการในเรื่องส่วนประสมทางการตลาด ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย และ การส่งเสริมการตลาด โดยพบปัญหาในระดับมากในเรื่องการไม่ได้รับรองมาตรฐานกระบวนการผลิตและตัวผลิตภัณฑ์ จากหน่วยงานราชการที่กำกับดูแลด้านกฎระเบียบข้อบังคับ 2) สมุนไพรหญ้าเอ็นยืดเป็นสมุนไพรที่เป็นที่รู้จักและมีประวัติการนำมาใช้ในการรักษามาอย่างยาวนาน ใช้ได้ทั้งภายนอกและภายในร่างกาย มีงานวิจัยรองรับและสนับสนุนด้านสรรพคุณทั้งในและต่างประเทศ และ 3) ส่วนประสมทางการตลาดได้แก่ ผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางการจำหน่าย และการส่งเสริมการตลาด มีความสัมพันธ์ต่อการส่งเสริมกิจการของกลุ่มผู้ประกอบการแปรรูปสมุนไพรหญ้าเอ็นยืดในประเทศไทย สรรพคุณของสมุนไพรหญ้าเอ็นยืด ให้ผลในเชิงบวกต่อการรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อและข้อกระดูก ผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวต่างให้การยอมรับ จึงควรปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. (2559). แผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2560–2564. (พิมพ์ครั้งที่ 1). สมุทรปราการ: ทีเอส อินเตอร์พริ้นท์.

กุลธิดา เกิดแจ้ง. (2562). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ยาหม่องสมุนไพร ตราจินเฮิร์บ ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์, 7(1), 223-233.

กุลริศา คำสิงห์. (2563). การพัฒนารูปแบบส่วนประสมทางการตลาดของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกพืชสมุนไพร ตำบลหนองคู อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม. วารสารสถาบันพัฒนาการเรียนรู้ศาสตร์สมัยใหม่, 5(2), 130-143.

จิระศักดิ์ สาระรัตน์ และคณะ. (2561). การพัฒนาตํารับ ประสิทธิภาพ และความพึงพอใจของครีมนวดสารสกัดจากผักกาดน้ำในอาสาสมัครเพื่อลดอาการปวดและเมื่อยล้า. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยรังสิต.

ณัฐวุฒิ สุวรรณทิพย์ และคณะ. (2564). การพัฒนาขีดความสามารถด้านการตลาดและการสร้างตราสินค้าผลิตภัณฑ์สมุนไพรของผู้ประกอบการในโครงการเมืองสมุนไพรจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารนักบริหาร สถาบันวิจัยเศรษฐกิจสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 41(2), 37-50.

ดลนภัส กันธะลี. (2558). ความหลากหลายของพืชอาหารและสมุนไพรกับการใช้ประโยชน์ของชุมชนบ้านปิตุคีอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่. ใน วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการพัฒนาภูมิสังคมอย่างยั่งยืน. มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ธงชัย สันติวงษ์. (2540). พฤติกรรมการบริโภคทางการตลาด. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

นิภาพร ปัญญา และดวงฤทัย นิคมรัฐ. (2564). การตลาดออนไลน์ของสารสกัดจากหญ้าเอ็นยืดหมัก เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจยั่งยืนในชุมชน วิสาหกิจเกษตรปลอดภัย บ้านม่วงเจริญราษฎร์ ตำบลบ่อสวก จังหวัดน่าน. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

ปภาวี รัตนธรรม. (2562). การพัฒนาศูนย์เสริมสร้างทักษะอาชีพ ด้านการแปรรูปสมุนไพรพื้นบ้านเพื่อส่งเสริม และพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สู่ชุมชนตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.

ปิยทัศน์ ใจเย็น และยุทธนา แยบคาย. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อความเชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์สมุนไพรของประชาชนจังหวัดสุโขทัย. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก, 18(1), 122-134.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ. (2546). การบริหารตลาดยุคใหม่. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสาร.

ศุภฤกษ์ ธาราพิทักษ์วงศ์ และเพียงตะวัน พลอาจ. (2561). การสร้างตัวแบบการบริหารวิสาหกิจชุมชนที่เหมาะสมเพื่อสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขันในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน: กรณีศึกษาธุรกิจชุมชน อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่.

ศูนย์นวัตกรรมสมุนไพรครบวงจร มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง. (2562). เจลหญ้าเอ็นยืด. เรียกใช้เมื่อ 3 เมษายน 2566 จาก https://www.thailandinnovationportal.com/info/innovation/item/62889

สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดปทุมธานี. (2565). ทะเบียนผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ผลิตภัณฑ์แปรรูปสมุนไพรหญ้าเอ็นยืด ทั่วประเทศไทย. ปทุมธานี. เรียกใช้เมื่อ 3 เมษายน 2566 จาก https://pathumthani.cdd.go.th/

สำนักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา. (2564). การสกัดน้ำมันหญ้าเอ็นยืด. เรียกใช้เมื่อ 3 เมษายน 2566 จาก https://www.thailandinnovationportal.com/info/innovation/item/6180

สำนักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา. (2564). ยาหม่องเอ็นยืด. เรียกใช้เมื่อ 3 เมษายน 2566 จาก https://www.thailandinnovationportal.com/info/innovation/item/7165

สุภาภรณ์ ปิติพร. (2556). บันทึกของแผ่นดิน 1, หญ้า ยา สมุนไพรใกล้ตัว. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: ปรมัตถ์การพิมพ์.

Ali Nazarizadeh. (2013). Therapeutic Uses and Pharmacological Properties of Plantago major L and its Active Constituents. Journal of Basic and Applied Scientific Research, 3(9), 1-11.

Anne Berit Samuelsen. (2000). The traditional uses, chemical constituents and biological activities of Plantago major L. A review. Journal of Ethnopharmacology, 71(1), 1-21.

Kotler, P. (2000). Marketing management (10th ed.). New Jersey: Prentice–Hall, Inc.