การวิเคราะห์ข้อมูลผู้ทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในประเทศไทย เพื่อกำหนดแนวทางการแก้ไขและเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยตัว
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับข้อมูลผู้กระทำความผิดอาญาเกี่ยวกับยาเสพติดในประเทศไทยเพื่อกำหนดแนวทางการแก้ไขและเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยตัวโดยวิธีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์การศึกษาเพื่อ 1) ทราบสถานการณ์ผู้ทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในเรือนจำไทย นำไปสู่การวิเคราะห์แนวทางเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยผู้ทำผิดด้าน จิตใจ ปัญญา ร่างกาย พฤติกรรม 2) วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเป็นพื้นฐานในการกำหนดกิจกรรมและวางแผนการแก้ไขพฤตินิสัยก่อนพ้นโทษและสนับสนุนการกลับมามีชีวิตใหม่อีกครั้งภายหลังการพ้นโทษ ผลการวิจัยพบว่า ผู้ต้องโทษจำคุกเกี่ยวกับยาเสพติดมีจำนวนมากถึงร้อยละ 80 ในข้อหาเสพยาเสพติด ครอบครอง ซื้อขายเพื่อเสพ มีจำนวนมากที่สุด ฐานผลิตยาเสพติด นำเข้าในราชอาณาจักร ร้อยละ 3.44 ยาเสพติดที่พบการกระทำความผิดมากที่สุดคือ ประเภทเมทแอมเฟตามีน การกำหนดแนวทางและการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อย โดยคำนึงถึงความเหมาะสมของในการแก้ไขฟื้นฟูเป็นรายบุคคลในกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้แต่ละคนสามารถดำรงชีวิตในอนาคตได้โดยปราศจากการกระทำความผิดอีกครั้ง ทั้งนี้โดยต้องทำให้เกิด 1) ความรู้ใหม่และความคิดใหม่ที่ดีกว่า ได้แก่ การสร้างสติ ความรู้ การพัฒนาความคิด การเห็นคุณค่าในตัวเอง ความเชื่อมั่นในตัวเอง และมีกำลังใจ 2) ภูมิธรรมในการคิดและการตัดสินใจ 3) การศึกษาพื้นฐานและการศึกษาสูงกว่าขั้นพื้นฐาน 4) ความมีอาชีพที่เป็นไปได้จริงเมื่อพ้นโทษ และทุนในการประกอบอาชีพด้วยตนเองได้ ด้วยการทำ “แผนบังคับโทษเป็นรายบุคคล” ที่มีประสิทธิภาพมีการทำหลักสูตรเป็นการเฉพาะเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขและเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยตัว
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กอบกูล จันทวโร และคณะ. (2558). มาตรการทางกฎหมายในการพัฒนาทางเลือกสำหรับผู้กระทำความผิดคดียาเสพติดเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามข้อกำหนดกรุงเทพมหานคร. ใน รายงานการวิจัยภายใต้โครงการกำลังใจในพระดำริพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา. กระทรวงยุติธรรม.
กอบกูล จันทวโร และคณะ. (2559). รายงานการศึกษาและข้อเสนอทางกฎหมายสำหรับผู้กระทำผิดคดียาเสพติด เพื่อเป็นข้อเสนอในการประชุมสหประชาชาติสมัยพิเศษ UNGASS. ใน รายงานการวิจัยสำนักกิจการในพระดำริพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา. กระทรวงยุติธรรม.
คณิต ณ นคร. (2561). กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน.
ประมวลกฎหมายยาเสพติด. (2564). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 138 ตอนที่ 73 ก หน้า 11-80 (8 พฤศจิกายน 2564).
อภิชาติ ดำรงสันติสุข. (2556). แผนบังคับโทษจำคุกรายบุคคล. ใน นิติศาสตรมหาบัณฑิตย์. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
Bernd-Dieter Meier. (2009). Strafrechtliche Sanktionen. 3 Auflage. Springer Berlin: Germany.
Claus Roxin. (2014). Strafvertfahrens-recht. 28 Auflage. C.H.BECK : München Germany.
Günther Kaiser. (1984). Prison Systems & Correctional Law : Europe, The United States, and Japan A Comparative Analysis. Transnational Publishers: USA.
Günther Kaiser. (2003). Strafvollzug. 5 Auflage. C.F.Müller: Heidelberg Germany.
Joan Petersilia. (2003). When Prisoners Come Home. New York: Oxford, USA.
Klaus Laubenthal. (2008). Strafvollzug. 5 Auflage. Springer: Würzburg: Gemany.
Stephen Livingstone & Tim Owen. (1999). Prison Law. (2nd ed). New York: Oxfort UK.
UNAFEI. (2014). Criminal Justice in Japan. UNAFEI: Tokyo: Japan.