ผลการจัดการเรียนรู้แบบการสอนแนะให้รู้คิดที่มีต่อความรู้สึกเชิงจำนวน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1

Main Article Content

กิตติธัช ช่อสุวรรณ
ชมนาด เชื้อสุวรรณทวี
รุ่งทิวา แย้มรุ่ง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เปรียบเทียบความรู้สึกเชิงจำนวนของนักเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบการสอนแนะให้รู้คิด 2) เปรียบเทียบความรู้สึกเชิงจำนวนของนักเรียนหลังได้รับการจัดเรียนรู้แบบการสอนแนะให้รู้คิดกับเกณฑ์ร้อยละ 70 ซึ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 1 ห้องเรียน โดยมีจำนวนนักเรียนทั้งหมด 32 คน ที่ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม โดยใช้ระยะเวลาในการทดลองจำนวน 14 คาบ คาบละ 45 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบวัดความรู้สึกเชิงจำนวน ประกอบด้วย แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ และเติมคำตอบ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ตั้งแต่ 0.67 – 1.00 ความยากง่าย (p) ตั้งแต่ 0.32 – 0.78 ค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.21 – 0.82 และค่าความเชื่อมั่น 0.88 และแบบอัตนัย มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ตั้งแต่ 0.67 – 1.00 ความยากง่าย (P) ตั้งแต่ 0.22 – 0.50 ค่าอำนาจจำแนก (D) ตั้งแต่ 0.44 – 1.00 และค่าความเชื่อมั่น 0.90 โดยใช้แบบแผนการวิจัยแบบ One-Group Pretest–Posttest Design ทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ t-test for dependent samples และ t-test for one sample ผลการวิจัย พบว่า 1) ความรู้สึกเชิงจำนวนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบการสอนแนะให้รู้คิดสูงกว่าก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความรู้สึกเชิงจำนวนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบการสอนแนะให้รู้คิดสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 37.38 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 5.79 และคิดเป็น74.76%

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (Ordinary National Educational Testing : O-NET). เรียกใช้เมื่อ 10 ตุลาคม 2565 จาก https://www. secondary28.go.th/?p=2475

จุฬารัตน์ ทองอร่าม. (2556). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความรู้สึกเชิงจำนวนและความรู้สึกเชิงปริภูมิ สำหรับนักเรียนระดับปฐมวัย. ใน วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

นพพร แหยมแสง. (2556). พฤติกรรมการสอนคณิตศาสตร์ 1 = Teaching behavior in mathematics 1 : CMA 4101 (TL 461) (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

นัฐกานต์ พรหมเกษ. (2561). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้สึกเชิงจำนวนและความรู้สึกเชิงปริภูมิของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ปวันรัตน์ วัฒนะ. (2559). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เรื่อง การวัดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยการสอนแนะให้คิด (CGI) ที่เน้นการเชื่อมโยงระหว่างคณิตศาสตร์กับชีวิตประจำวัน. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ระพีพัฒน์ แก้วอ่ำ. (2559). การใช้คำถามปลายเปิดในการสอนคณิตศาสตร์. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 8(15), 206-211.

เวชฤทธิ์ อังกนะภัทรขจร. (2553). การสอนแนะให้รู้คิด (Cognitively Guided Instruction: CGI) รูปแบบหนึ่งของการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์. วารสารศึกษาศาสตร์, 21(1), 1-11.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2015). รายงานผลการวิจัยโครงการ TIMSS 2015. เรียกใช้เมื่อ 10 ตุลาคม 2565 จาก http://timssthailand.ipst.ac.th/timss/reports/timss2015report

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2545). เอกสารเสริมความรู้ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความรู้สึกเชิงจำนวน (Number Sense). กรุงเทพมหานคร: สำนักพัฒนาธุรกิจ.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2563). ผลการประเมิน PISA 2018: นักเรียนไทยวัย 15 ปี รู้และทำอะไรได้บ้าง. เรียกใช้เมื่อ 10 ตุลาคม 2565 จาก https://pisathailand.ipst.ac.th/issue-2019-48/

สมศักดิ์ ภู่วิภาดาวรรธน์. (2554). หลักการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนและการประเมินตามสภาพจริง. กรุงเทพมหานคร: ดวงกมลพับลิชชิ่ง.

Hope Jack. (1989). "Promoting Number Sense in School,". Arithmetic Teacher, 36(6), 12-16.

National Council of Teachers of Mathematics. . (1989). Curriculum and Evaluation Standards for School mathematic. Verginia: The National Council of Teachers of Mathematics.

Romau R.N. (1988). "Number Sense Mathematics Teach". Arithmetic Teacher, 81(6), 437-440.