ผลของการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ผ่านสถานการณ์ในชีวิตจริงที่มีต่อการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ตามกรอบการประเมินของ PISA
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เปรียบเทียบการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ตามกรอบการประเมินของ PISA ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ผ่านสถานการณ์ในชีวิตจริง 2) เปรียบเทียบการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ตามกรอบการประเมินของ PISA หลังได้รับการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ผ่านสถานการณ์ในชีวิตจริงกับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนรินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม)
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 38 คน ที่ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม ใช้เวลาในการทดลองจำนวน 16 คาบ เครื่องมือที่ใช้ คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบวัดการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ตามกรอบการประเมินของ PISA มีค่าดัชนีความสอดคล้อง ตั้งแต่ 0.67 – 1.00 ความยากง่าย ตั้งแต่ 0.25 – 0.75 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.20 – 0.90 ค่าความเชื่อมั่น 0.79 โดยใช้การวิจัยแบบ One-Group Pretest-Posttest Design ทดสอบสมมติฐานโดย t-test for dependent samples และ t-test for one sample ผลการวิจัยพบว่า 1) การให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ตามกรอบการประเมินของ PISA หลังได้รับการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ผ่านสถานการณ์ในชีวิตจริงสูงกว่าก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ผ่านสถานการณ์ในชีวิตจริงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) การให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ตามกรอบการประเมินของ PISA หลังได้รับการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ผ่านสถานการณ์ในชีวิตจริงสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 23.45 คิดเป็นร้อยละ 73.28
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงการศึกษาธิการ. (2560). มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ชมนาด เชื้อสุวรรณทวี. (2561). การเรียนการสอนคณิตศาสตร์ . กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พีชาณิกา เพชรสังข์ และอัมพร ม้าคนอง. (2556). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการสอน 5E ร่วมกับคำถามปลายเปิดที่มีต่อความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 9(3), 16-30.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร : 3-คิว มีเดีย.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2558). ผลการประเมิน PISA 2018 : บทสรุปสำหรับผู้บริหาร. เรียกใช้เมื่อ 10 ตุลาคม 2565 จาก https://drive.google.com/file/d/11xU3cWrvQ91JnBqDflrZ-EEHJayMxshA/view
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2563). PISA 2021 กับการประเมินความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์. เรียกใช้เมื่อ 10 ตุลาคม 2565 จาก https://pisathailand.ipst.ac.th/issue-2020-53/
สิทธิกร เรืองศรี. (2560). การจัดการเรียนรู้แบบสืบสอบที่เน้นสถานการณ์ปัญหาคณิตศาสตร์ในชีวิตจริงเรื่อง อนุพันธ์และการประยุกต์ของอนุพันธ์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลและการเห็นคุณค่าในวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิทยาศาสตร์ มศว, 33(1), 231-247.
สุวิทย์ มูลคำและอรทัย มูลคำ. (2553). 21 วิธีจัดการเรียนรู้ : เพื่อพัฒนากระบวนการคิด (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: ดวงกมล.
อัมพร ม้าคนอง. (2559). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ : การพัฒนาเพื่อพัฒนาการ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ตำราและเอกสารทางวิชาการ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
National Council of Teachers of, M. (2000). Principles and standards for school mathematics. Reston, VA : National Council of Teachers of Mathematics.
OECD. (2018). PISA-2021-mathematics-framework. Retrieved October 10, 2022, from https://www.oecd.org/pisa/sitedocument/PISA-2021-mathematics-framework.pdf
Piaget Jean. (1969). The psychology of the child. New York: Basic Books.