การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีที่ส่งผลต่อคุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษาที่พึงประสงค์ สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดระยอง

Main Article Content

อัมพล เจริญนนท์
เริงวิชญ์ นิลโคตร
วัยวุฒิ บุญลอย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดระยอง 2) ศึกษาคุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษาที่พึงประสงค์ สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดระยอง 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีกับคุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษาที่พึงประสงค์ สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดระยอง และ 4) สร้างสมการพยากรณ์ การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีที่ส่งผลต่อคุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษาที่พึงประสงค์ สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดระยอง เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และตัวแทนสถานประกอบการ สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดระยอง จำนวน 269 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน ใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนโดยใช้ที่ตั้งของสถานศึกษาเป็นชั้นของการแบ่งเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามที่เป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบ่งออกเป็น 3 ตอน สถิติที่ใช้วิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยอย่างง่าย ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.27 2) คุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษาที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.28 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีกับคุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษาที่พึงประสงค์ มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) การสร้างสมการพยากรณ์การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีที่ส่งผลต่อคุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษาที่พึงประสงค์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ คือ  = 0.25 + 0.94X สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ  = 0.89  โดยสามารถพยากรณ์คุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษาที่พึงประสงค์ ได้ร้อยละ 79 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรรัตน์ พิพัฒน์ผล. (2557). องค์ประกอบความสำเร็จของการจัดการอาชีวศึกษาในสถานประกอบการขนาดใหญ่. ใน ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาตลอดชีวิตและการพัฒนามนุษย์. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. (2564). บริการข้อมูลเปรียบเทียบ Demand (แรงงานอาชีวศึกษา)และ Supply (ผู้เรียนอาชีวศึกษา) 3 จังหวัด ปี 2560 – 2564. เรียกใช้เมื่อ 8 ธันวาคม 2564 จาก http://eec.vec.go.th/th-th/บริการข้อมูล

จงสถาพร ดาวเรือง. (2560). อนาคตภาพการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2559 - 2569). ใน ปรัชญาดุษฎีนิพนธ์ สาขาวิชาการจัดการเพื่อพัฒนา. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

จินตนา รวมชมรัตน์. (2558). รูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีในวิทยาลัยสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. ใน ปรัชญาดุษฎีนิพนธ์ สาขาวิชาการบริหารเพื่อพัฒนาการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเกี่ยวกับการบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สุวิริยาสาส์น.

เบญจวรรณ ศรีคำนวล. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถานศึกษาในจังหวัดลำปาง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วารสารอิเล็กทรอนิกส์เวอเรเดียน, 10(2), 9 - 10.

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ. (2562). เรื่อง กรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2562. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนพิเศษ ง หน้า 2 (13 กุมภาพันธ์ 2562).

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 1). (2542). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 74 ก หน้า 7 - 9 (19 สิงหาคม 2542).

พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา (ฉบับที่ 1). (2551). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 ตอนที่ 43 ก หน้า 1- 24 (26 กุมภาพันธ์ 2551).

เพชรโยธิน ราษฎร์เจริญ. (2564). กลยุทธ์การบริหารจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามกรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษา วิทยาลัยเทคนิคธัญบุรี. วารสารอิเล็กทรอนิกส์สำหรับบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา, 3(3), 19-37.

ยงยุทธ พนัสนอก. (2563). การบริหารจัดการศึกษาแบบทวิศึกษาที่ส่งผลต่อคุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษาที่พึงประสงค์ของสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดจันทบุรี ระยอง และตราด. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

รักชาติ ปานเพชร. (2558). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ตามทรรศนะของผู้บริหารสถานประกอบการในจังหวัดพัทลุง. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

ศูนย์อาชีวศึกษาทวิภาคีภาคตะวันออก 2. (2564). จำนวนผู้เรียนภาพรวมของจังหวัด. เรียกใช้เมื่อ 8 ธันวาคม 2564 จาก https://dve.vec.go.th/index.php?app/home/index_province&province_id=21

สหชาติ สุดเรือง. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของผู้บริหารกับคุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษาจังหวัดพัทลุง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. เรียกใช้เมื่อ 15 ธันวาคม 2564 จาก https://app.gs.kku.ac.th/gs/th/publicationfile/item/20th-ngrc-2019/HMO28/HMO28.pdf

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2551). ระเบียบสำนักงานคณะงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ว่าด้วยการบริหารสถานศึกษา พ.ศ. 2552. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานฯ.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2557). แนวทางปฏิบัติการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องมาตรฐานการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี พ.ศ. 2557. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานฯ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานฯ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). โครงการศึกษาเพื่อทบทวนความต้องการกำลังคนเพื่อใช้วางผลิตและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

อาชีวศึกษาจังหวัดระยอง. (2564). ข้อมูลพื้นฐานทางการศึกษาจังหวัดระยอง. เรียกใช้เมื่อ 15 ธันวาคม 2564 จาก https://drive.google.com/file/d/1OzfJYOaN4MeXKT0sB8RsOlIRHlmj1Ewi/view

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of Psychological Testing. New York: Harper Collins.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.