การดูแลผู้สูงอายุระยะยาวของประเทศไทย: มุมมองด้านนโยบาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานโยบายการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในประเทศไทย เป็น การวิจัยเชิงเอกสาร โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า นโยบายด้านการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในประเทศไทย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1) นโยบายเกี่ยวกับระบบบริการในครอบครัวและชุมชน ส่วนใหญ่เป็นนโยบายระดับชาติที่กำหนดแนวคิดพื้นฐานใน การดูแลผู้สูงอายุ บางส่วนเป็นนโยบายในระดับหน่วยงานที่กำหนดแนวทางในการสร้างระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว สาระสำคัญของนโยบาย คือ หลักการในการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวต้องคำนึงถึง สิทธิ คุณค่าศักดิ์ศรีของผู้สูงอายุ ครอบครัวและชุมชนควรมีบทบาทหลักในการดูแลผู้สูงอายุทั้งด้านสุขภาพและสังคม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีบทบาทในการสนับสนุนด้านงบประมาณ การบริการสังคมและองค์ความรู้ในการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวให้แก่อาสาสมัครในชุมชนและครอบครัว 2) นโยบายเกี่ยวกับการบริการในสถาบัน ส่วนใหญ่เป็นนโยบายในระดับหน่วยงานที่กำหนดขึ้นตามนโยบายระดับชาติ สาระสำคัญของนโยบาย คือ แนวทางในการประกอบกิจการการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวทั้งในสถาบันของรัฐ และเอกชน มาตรฐานในการจัดบริการสำหรับดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในด้านต่าง ๆ อาทิ ด้านหลักเกณฑ์ในการเปิดกิจการ ด้านการรับเข้าผู้สูงอายุ ด้านสถานที่ ด้านความปลอดภัย และด้านการให้บริการ ทั้งนี้ประเทศไทยได้ดำเนินนโยบายเกี่ยวกับระบบบริการในครอบครัวและชุมชนเป็นหลัก เนื่องจากมีทุนทางสังคมที่สามารถใช้เป็นกลไกในการดูแลผู้สูงอายุได้ เช่น ความสัมพันธ์ของคนในชุมชน ระบบเครือญาติ ในระยะหลังมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสังคมก่อให้เกิดความต้องการใช้บริการในการดูแลผู้สูงอายุจากภาคเอกชนเพิ่มขึ้น รัฐจึงมีการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการบริการในสถาบันมากขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กฎกระทรวง กำหนดให้กิจการการดูแลผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิงเป็นกิจการอื่นในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ. (2563). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 137 ตอนที่ 61 ก หน้า 40 (31 กรกฎาคม 2563).
กรมประชาสงเคราะห์. (2542). ปฏิญญาผู้สูงอายุไทย. กรุงเทพมหานคร: กรมประชาสงเคราะห์.
ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายตอสุขภาพ (ฉบับที่ 6). (2553). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 127 ตอนพิเศษ 6 ง หน้า 40 (14 มกราคม 2553).
พระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน. (2484). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 85 หน้า 1324 (7 ตุลาคม 2484).
ภาสกร สวนเรือง และคณะ. (2561). การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของผู้ช่วยเหลือในชุมชน ภายใต้นโยบายการพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 12(3), 437-451.
ศิริพันธุ์ สาสัตย์ และคณะ. (2552). การดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในสถานบริการในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข .
สกานต์ บุนนาค และคณะ. (2563). การวิเคราะห์ภาวะสุขภาพ ภาระโรคและความต้องการบริการด้านสุขภาพในผู้สูงอายุไทย. เรียกใช้เมื่อ 23 ธันวาคม 2565 จาก https://thaitgri.org/?wpdmpro=โครงการการวิเคราะห์ภาว
สมบัติ ธํารงธัญวงศ์. (2549). นโยบายสาธารณะ :แนวความคิด การวิเคราะห์และกระบวนการ.(พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพมหานคร: เสมาธรรม.
สำนักงานสถิติแหงชาติ. (2565). การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2564. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2559). แนวทางการบริหารงบกองทุน LTC ปี 2559. เรียกใช้เมื่อ 8 ธันวาคม 2565 จาก https://www.nhso.go.th/files/ 2016/01 แนวทาง59.pdf
Greve, B. (Ed.). (2017). Long-Term Care for The Elderly in Europe: Development and Prospects. (Social welfare around the world, 3). Abingdon, Oxon: Routledge.
OECD. (2007). Conceptual Framework and Methods for Analysis of Data Sources for Long-Term Care Expenditure. Retrieved November 20 , 2022, from https://www.oecd.org/els/ healthsystems/Conceptual%
Shen, S., et al. (2014). Long-term Care Insurance in China: Public or Private? Social Work in Health Care, 53(7), 679-692.