การสร้างสรรค์รายการเพลงที่มีลิขสิทธิ์จากต่างประเทศ ของช่องเวิร์คพอยท์ หมายเลข 23
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการผลิตและการสร้างสรรค์รายการเพลงที่มีลิขสิทธิ์จากต่างประเทศของช่องเวิร์คพอยท์ หมายเลข 23 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ที่ใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนาข้อมูล ซึ่งใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยกลุ่มตัวอย่างหรือผู้ให้ข้อมูลที่ได้รับการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง คือ บุคลากรผู้ปฏิบัติงานด้านการผลิตรายการโทรทัศน์ที่มีผลงานออกอากาศในช่วงปีพ.ศ. 2556-ปัจจุบัน ใช้การวิเคราะห์ตีความแบบอุปนัย โดยนำข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกมาวิเคราะห์ และมีการวิเคราะห์ข้อมูลจากการอ่านบทสัมภาษณ์หรือบทความ ข่าวสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยด้านกระบวนการผลิต พบว่า การสร้างสรรค์รายการเพลงที่มีลิขสิทธิ์จากต่างประเทศกับรายการเพลงที่สร้างสรรค์ขึ้นเอง มีข้อแตกต่างกัน ในเรื่องกระบวนการคิดโครงสร้าง วิธีการทำงาน ข้อจำกัดและกฎระเบียบต่าง ๆ และภาพลักษณ์ ซึ่งทางเจ้าของลิขสิทธิ์จะส่งทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญมาเพื่อเผยแพร่และเป็นที่ปรึกษาให้ตลอดการทำรายการ อย่างไรก็ตามยังมีความเหมือนกันในเรื่อง ขั้นตอนการผลิตรายการและการถ่ายทำ รวมถึงการใช้ทีมงานที่เป็นมืออาชีพในการทำงานกระบวนการต่าง ๆ ผลการวิจัยด้านความคิดสร้างสรรค์ พบว่า การสร้างสรรค์รายการเพลงที่มีลิขสิทธิ์จากต่างประเทศ มีข้อแตกต่างจากรายการเพลงที่สร้างสรรค์ขึ้นเอง คือ การคิดและปรับเพิ่มเติม แต่ยังคงคอนเซ็ปต์ของลิขสิทธิ์เอาไว้ การเตรียมผลิตรายการมีการกำหนดขอบเขตและการกำหนดเนื้อหาโดยเริ่มจากความคิดสร้างสรรค์ในเนื้อหาและรูปแบบของการผลิตรายการที่มีลิขสิทธิ์จากต่างประเทศและนำมาประยุกต์ให้เหมาะสมกับผู้รับชม ส่วนที่มีความเหมือนกัน คือ รูปแบบที่มีความทันสมัยมากขึ้น พิจารณาเนื้อหาที่สามารถออกอากาศได้ รวมถึงสร้างสรรค์ให้มีเนื้อหาครบถ้วนในทุกมิติ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรุงเทพธุรกิจ. (2558). เวิร์คพอยท์ชูเกมโชว์-วาไรตี้ ย้ำผู้นำเรทติ้ง-ปรับค่าโฆษณา. กรุงเทพมหานคร: กรุงเทพธุรกิจ.
ชนนิกานต์ พฤกษ์สมบูรณ์. (2549). การผลิตรายการเพลงทางสื่อโทรทัศน์ : ศึกษาเฉพาะกรณีรายการอี-เมาท์ ของบริษัทแกรมมี่เทเลวิชั่น จำกัด. ใน วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสื่อสารมวลชน. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปมุข ศุภสาร และพิไลวรรณ ปุกหุต. (2530). องค์ประกอบที่จำเป็นของการจัดรายการวิทยุโทรทัศน์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช.
ปองพร พิทากร. (2557). บทบาทของ Production House ต่อรายการที่ซื้อลิขสิทธิ์มาจากต่างประเทศ: กรณีศึกษา รายการเดอะวอยซ์ เสียงจริง ตัวจริง. ใน วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสื่อสารมวลชน. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วัชระ แวววุฒินันท์. (2548). เอกสารประกอบการสอนชุดวิชาการสร้างสรรค์รายการโทรทัศน์วิชานิเทศศาสตร์. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วีระ สุภะ. (2537). การศึกษากระบวนการในการผลิตละครชุดโทรทัศน์ไทย พ.ศ.2536. ใน วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมสุข หินวิมาน. (2554). ความรู้เบื้องต้นทางวิทยุโทรทัศน์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สมสุข หินวิมาน และคณะ. (2557). ความรู้เบื้องต้นทางวิทยุและโทรทัศน์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Mason. (1960). The Knowledge-Creativity. New York: Cambridge.
Mednick. (1961). The associative basis of the creative process. Psychological Review, 69(3), 220-232.