การบริหารสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาที่ส่งผลต่อทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง

Main Article Content

นิชาภา เจริญรวย
วัยวุฒิ บุญลอย
ธีรังกูร วรบำรุงกุล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารสภาพแวดล้อมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง 2) ศึกษาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารสภาพแวดล้อมในสถานศึกษากับทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง และ 4) สร้างสมการพยากรณ์การบริหารสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาที่ส่งผลต่อทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง เป็นการวิจัยเชิงปริมาณกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง จำนวน 351 คน ใช้ตารางเทียบขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน ใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน โดยใช้ที่ตั้งของสถานศึกษาเป็นชั้นของการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3) ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารสภาพแวดล้อมในสถานศึกษากับทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 มีความสัมพันธ์กันในเชิงบวกระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) การสร้างสมการพยากรณ์การบริหารสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาที่ส่งผลต่อทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ได้ร้อยละ 59 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสามารถสร้างสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ คือ  = 067 + 0.22X1 + 0.19X2 + 0.41X3 และสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ  = 0.22Zx1 + 0.19Zx2 + 0.43Zx3

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2547). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2553). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: เทพเนรมิตการพิมพ์.

ดนุพล สืบสำราญ. (2560). การสำรวจทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. ใน รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.

ดวงสุดา บุรเนตร. (2554). การบริหารสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาจังหวัดกาญจนบุรีสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. ใน ภาคนิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

น้ำทิพย์ องอาจวาณิชย์. (2559). แนวทางการประเมินทักษะแห่งศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ, 16(2), 1-11.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

บุษยพรรณ พรหมวาทย์. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาสถานศึกษากับการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยพะเยา.

ประยูร อนันต๊ะ. (2559). การบริหารสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

รังสรร มังกรงาม. (2561). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

วิไลวรรณ แก้วถาวร. (2561). การบริหารสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของวิทยาลัยเทคนิค จังหวัดกระบี่. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วีซานา อับดุลเลาะ และวุฒิชัย เนียมเทศ. (2563). การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 “แนวคิด ทฤษฎี และแนวทางปฏิบัติ”. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(2), 227-246.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง. (2565). รายงานการประเมินตนเองของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง. เรียกใช้เมื่อ 20 เมษายน 2564 จาก http://www.spm18.go.th/ 2017/

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

สุจิน คุ้มครอง. (2555). การบริหารสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน ในสหวิทยาเขตวิภาวดีสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุนทรียา บุญตา และภาวิดา ธาราศรีสุทธ. (2564). ความคิดเห็นของครูที่มีต่อการจัดสภาพแวดล้อมผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียน ในกลุ่มอำเภอพระสมุทรเจดีย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สมุทรปราการ เขต 1. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(1), 171-183.

อภิบาล สุวรรณโคตร์ และสมหญิง จันทรุไทย. (2563). การบริหารจัดการสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของสถานศึกษา ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาหนองบุญมาก 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(7), 74-86.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of Psychological Testing. (5 th ed). New York: Harper Collins.

Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities.”. Journal of Education and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.

Kristen Kereluk. and el al. (2013). What Knowledge is of Most Worth : Teacher Knowledge for 21st Century Learning. Journal of Digital Learning in Teacher Education, 29(4),130-131.

Likert, R. (1993). A Technique for the Measurement of Attitude. Chicago: Rand Mc Nally.

Lili Hernández-Romero. and Xiaokun. (2021). Supportive learning environments at elementary level in China. Journal of Educational Research for Policy and Practice, 20(2), 325-347.

Marsden and Dale Brendt. (2006). Relations Between Teacher Perceptions of Safe and Orderly Environment and Student Achievement Among Ten Better-performing, High-poverty Schools in One Southern California Elementary School District. In A dissertation Doctor of Education in Educational Leadership. Administration and Policy. Pepperdine University.