วิธีการใช้ทฤษฎีเพื่อกิจกรรมการบริหารจัดการ ในองค์การภาครัฐและภาคเอกชน
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์หลักของการวิจัยนี้ เพื่อศึกษาวิธีการใช้ทฤษฎีที่ใช้ในการบริหารจัดการองค์การภาครัฐและภาคเอกชน การวิจัยนี้มีลักษณะเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ข้อมูลที่ต้องการได้มาจาก 3 แหล่ง คือ เอกสารต่างๆ การสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 8 ท่าน เกี่ยวกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญนั้นทั้งหมดเป็นข้าราชการระดับสูงที่เกษียณอายุไปแล้ว และนักธุรกิจที่โดดเด่นบางท่าน แต่เป็นผู้ที่มีความรู้อย่างลึกซึ้งอย่างมาก เกี่ยวกับการบริหารในภาครัฐและภาคเอกชน ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ทำการวิเคราะห์ โดยการจำแนกแยกแยะข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่ การทำข้อมูลให้เป็นระบบ การสังเคราะห์ข้อมูล การบรรยายแบบเล่าเรื่องและวิเคราะห์เชิงตรรกะ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพได้เปิดเผยให้ทราบความจริงต่างๆ ดังระบุข้างล่างนี้ มีทฤษฎีประมาณ 100 ทฤษฎีที่สามารถจะนำไปใช้เพื่อการบริหารจัดการในองค์การภาครัฐและภาคเอกชนได้ แต่ทว่ามีจำนวนทฤษฎีน้อยมากที่ถูกนำไปใช้โดยผู้จัดการหรือผู้บริหารในภาครัฐและภาคเอกชน ทฤษฎีที่ดูเหมือนว่าถูกนำไปใช้มากที่สุดได้แก่ ทฤษฎีระบบราชการ ทฤษฎีการบริหารภาครัฐแนวใหม่ ทฤษฎีลำดับชั้นสูง ต่ำ ของความต้องการ เกี่ยวกับวิธีการใช้ทฤษฎีระบบราชการ ผู้บริหารควรจะยึดระบบคุณธรรมเมื่อมีการแต่งตั้งและเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา และเน้นในเรื่องการแบ่งงาน การทำตามความเชี่ยวชาญของพนักงาน ในเรื่องการใช้ทฤษฎีการบริหารภาครัฐแนวใหม่ ผู้บริหารควรจะมีจิตวิญญาณแบบผู้ประกอบการธุรกิจในภาคเอกชน และร่วมมือร่วมใจทำงานกับภาคไม่ค้ากำไรและภาคเอกชนด้วย เพื่อให้เป้าหมายของสังคมได้บรรลุ ส่วนวิธีใช้ทฤษฎีลำดับชั้นสูงต่ำของความต้องการนั้น ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญอย่างสูงสุดต่อการตอบสนองความต้องการทางด้านชีวะและสรีระของพนักงาน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Creswell, J.W. (2009). Research Design. Thousand oaks, California: SAGE Publications Inc.
Denhardt, R. B. & Jennet, V. D. (2000). The New Public Service. Public Administration Review,
(6), 549-559.
Denzin & Lincoln. (1994). Handbook of qualitative research. Urbana-Champaign: Sage Publications.
Fayol, H. (1967). General and Industrial Management. London: Pitman Publishing Inc.
Henry, N. (2004). Public Administration and Public Affairs. Upper Saddle River, NJ: Pearson Education.
Hood, C. (1998). The Art of the State: Culture, Rhetoric and Public Management. Oxford: Clarendon Press.
McGrath, J. & Bates, B. (2017). The Little Book of Big Management Theories. New York: Pearson.
Niyomyaht, S. (2008). Theories That Can Be Used in Public and Business Research. Bangkok: Bangkokthonburi University.
Rudner, R. S. (1966). A Philosophy of Social Science. Englewood cliffs, NJ: Prentice Hall.
Sekaran, U. (2013). Research methods for business. Hoboken, NJ: John Wiley and sons, Inc.
Winton U. S. (1977). Redeem The Time. Urbana Champaign: University of Illinois Press.