อิทธิพลของสื่อออนไลน์ ทัศนคติและกลุ่มอ้างอิงต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมน้ำมันสกัดเย็นเพื่อสุขภาพตราเนเจอร์ฟาร์ม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากร การเปิดรับสื่อออนไลน์ ทัศนคติและกลุ่มอ้างอิงต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมน้ำมันสกัดเย็นเพื่อสุขภาพตราเนเจอร์ฟาร์ม 2) เพื่อศึกษาการเปรียบเทียบลักษณะทางประชากรที่แตกต่างกันจะมีความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมน้ำมันสกัดเย็นเพื่อสุขภาพตราเนเจอร์ฟาร์มที่แตกต่างกัน 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลร่วมกันของการเปิดรับสื่อเกี่ยวกับอิทธิพลของสื่อออนไลน์ ทัศนคติและกลุ่มอ้างอิง ที่มีต่อความตั้งใจซื้ออาหารเสริมน้ำมันสกัดเย็นเพื่อสุขภาพตราเนเจอร์ฟาร์ม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณาโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมติฐานด้วยการวิเคราะห์ one way anova , การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ผลการทดสอบสมมติฐานที่ 1 พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความตั้งใจซื้ออาหารเสริมน้ำมันสกัดเย็นแตกต่างกันตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ ไม่เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัย ผลการทดสอบสมมติฐานที่ 2 พบว่า เมื่อทำการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ กลุ่มตัวแปร อิสระทั้ง 4 ตัว ได้แก่ การเปิดรับสื่อออนไลน์ ทัศนคติ กลุ่มอ้างอิง การตั้งใจซื้อ สามารถร่วมกันอธิบายการแปรผันของความตั้งใจซื้ออาหารเสริมน้ำมันสกัดเย็นได้ร้อยละ 58 และการเปิดรับสื่อออนไลน์มีอิทธิพลการเปิดรับสื่อออนไลน์ (β = -.167) กับทัศนคติต่อความตั้งใจซื้อ (β = 0.373) และกลุ่มอ้างอิง (β = 0.214) เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลร่วมกันต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมน้ำมันสกัดเย็นเพื่อสุขภาพตราเนเจอร์ฟาร์ม ดังนั้นตัวแปรอิสระทั้ง 3 ตัวแปรข้างต้น มีอิทธิพลทางบวกต่อความตั้งใจซื้ออาหารเสริมน้ำมันสกัดเย็น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กาญจนา แก้วเทพ. (2539). ปัจจุบันการติดต่อสื่อสารในสังคมไม่ได้จำกัดแค่การพูดคุยหรือพบปะสังสรรค์โดยทั่วไป. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เกศวลี ประสิทธิ์. (2563). ศึกษาเรื่องการเปิดรับสื่อนวัตกรรมการบริการผ่านแอปพลิเคชันและพฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชันในการดำเนิน ชีวิตของกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ในเขตกรุงเทพมหานคร. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ตะวัน มณีอินทร์. (2562). ศึกษาเรื่องการสื่อสารการตลาดพฤติกรรมผู้บริโภคสินค้าออนไลน์โควิด-19 การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติเกี่ยวกับส่วนประสมทางการตลาดกับพฤติกรรมการซื้อสินค้าในการป้องกันโรคโควิด-19 ทางออนไลน์. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ทิพวรรณ กะรัตน์. (2560). พฤติกรรมการซื้อและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์อีโคคาร์ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ธนชาติ นุ่มนนท์. (2565). We are social ได้เปิดผลรายงานเจาะลึกในแต่ละประเทศ โดยมีรายงาน Digital 2022 Thailand มีข้อมูลการใช้ดิจิทัลในประเทศไทยพิ่มเติมอยู่หลายด้าน. เรียกใช้เมื่อ 19 ตุลาคม 2565 จาก https://www.bangkokbiznews.com/ columnist/989552
ปัณฑารีย์ แก้วปานกัน. (2557). กลุ่มอ้างอิงที่มีอิทธิพลต่อขั้นตอนก่อนการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากสมุนไพร ของประชากรวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พงษ์ระพี เตชพาหพงษ์. (2540). จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ คือการส่งข้อความในลักษณะคล้าย จดหมายจากผู้ส่งไปยังผู้รับผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ. (2537). การศึกษาที่แตกต่างกัน จะมีความคิด ทัศนคติความเชื่ออุดมการณ์รสนิยม ค่านิยม และความต้องการที่แตกต่างกัน. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เรนุภา พนิตชัยศักดิ์. (2561). การเปิดรับสื่อและปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อเครื่องสำอางออร์แกนิกของกลุ่มอ้างผู้สูงวัยในกรุงเทพมหานคร. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ศุภรัศมิ์ ฐิติกุลเจริญ. (2554). การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญของมนุษย์และเป็นเครื่องมือสำคัญในการสื่อสารเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สมศักดิ์ สิทธิ์งาม. (2562). สถานการณ์โรคระบาดไวรัสโคโรนา19 ในประเทศไทย. ใน รายงานวิจัยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
สุพรรณษา กลิ่นศรีสุข. (2560). การรับรู้คุณค่าผลิตภัณฑ์ และความตั้งใจซื้อ ผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมรับประทาน ในร้านสะดวกซื้อของกลุ่มผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุรกิจ นาฑีสุวรรณ. (2565). อุตสาหกรรมเครื่องสำอางอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มอุตสาหกรรมยาสมุนไพร. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยมหิดล.
Davic, L. (2013). The possibility and willingness of the consumer to purchase goods or services in the future. England: Cambridge.
Klapper, J. T. (1960). The three-tier selection process of the consumer's interest in choosing." 15. England: Bristol.
Lowenstein, J. C. M. a. R. L. (1971). "Public exposure behavior drives a person to choose to receive media. 29. Germany: Berlin.
Minor, M. a. (1998). It has been defined as a person or group of people who has a significant influence on the behavior of a particular person. Page 40-44. California: United States of America.
Roger. (1978). Attitude is one very important concept. Social psychology and communication, and the term is widely used. Retrieved December 8, 2022, from http://phatrsa.blogspot.com/2010/01/attitude.htm