อิทธิพลของการสื่อสารการตลาดแบบผสมผสานต่อการรับรู้ภาพลักษณ์ พฤติกรรมการซื้อ และการบอกต่อออนไลน์ ในหนังสือนวนิยายวาย ของผู้บริโภคคนไทย

Main Article Content

จิรพรรณ ธุลีรัตนารมย์
นธกฤต วันต๊ะเมล์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้กำหนดวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปิดรับและอิทธิพลของการเปิดรับการสื่อสารการตลาดแบบผสมผสานต่อการรับรู้ภาพลักษณ์ พฤติกรรมการซื้อ และการบอกต่อออนไลน์ในหนังสือนวนิยายวายของผู้บริโภคคนไทย เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ โดยทำการเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างที่เป็นสมาชิกกลุ่ม Facebook ที่เกี่ยวกับหนังสือนวนิยายวายและเป็นผู้บริโภคหนังสือนวนิยายวาย จำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิตามสัดส่วนจริง วิเคราะห์ผลข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุต่ำกว่า 25 ปี เป็นนักเรียน/นักศึกษา การศึกษาระดับปริญญาตรี และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 10,000 บาท โดยมีการเปิดรับการสื่อสารการตลาดแบบผสมผสานของหนังสือนวนิยายวายในระดับบางครั้ง มีรับรู้ภาพลักษณ์หนังสือนวนิยายวายในระดับมาก มีพฤติกรรมการซื้อหนังสือนวนิยายวายเฉลี่ยต่อเดือนจำนวน 2.88 เล่ม และมีการบอกต่อออนไลน์ในหนังสือนวนิยายวายในระดับบางครั้ง ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า 1) การเปิดรับการสื่อสารการตลาดผ่านการสื่อสารในร้านค้า (β = 0.151) และการจัดกิจกรรมพิเศษ (β = 0.146) มีอิทธิพลต่อการรับรู้ภาพลักษณ์หนังสือนวนิยายวาย 2) การส่งเสริมการขาย (β = 0.171) มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อหนังสือนวนิยายวาย 3) การประชาสัมพันธ์ (β = 0.248) และการตลาดออนไลน์ (β = 0.167) มีอิทธิพลต่อการบอกต่อออนไลน์ในหนังสือนวนิยายวาย จากผลการศึกษาดังกล่าวสามารถนำไปใช้วางแผนกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแบบผสมผสาน เป็นแนวทางในการเลือกใช้ช่องทางการสื่อสารที่สอดคล้องกับความต้องการและสามารถเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคคนได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

Article Details

How to Cite
ธุลีรัตนารมย์ จ. ., & วันต๊ะเมล์ น. . (2023). อิทธิพลของการสื่อสารการตลาดแบบผสมผสานต่อการรับรู้ภาพลักษณ์ พฤติกรรมการซื้อ และการบอกต่อออนไลน์ ในหนังสือนวนิยายวาย ของผู้บริโภคคนไทย. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 10(4), 281–293. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/268665
บท
บทความวิจัย

References

กรุงเทพธุรกิจ. (2563). ส่องมูลค่าตลาด ‘ซีรี่ส์วาย’ เรื่องรัก ‘ชายชาย’ ที่ได้ใจคนดูทุกเพศ. เรียกใช้เมื่อ 20 ธันวาคม 2565 จาก https://today.line.me/th/v2/article/o7Vz8y

ฉัตรยาพร เสมอใจ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร: เอ็กซเปอร์เน็ท.

ณิชารีย์ โสภา. (2563). การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าแบรนด์ HAPPY SUNDAY การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 11. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ธันยพร วรรณประเสริฐ. (2557). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดหนังสือนวนิยายไทยของสำ นักพิมพ์และการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค. วารสารการประชาสัมพันธ์และการโฆษณา, 7(1), 54-70.

ประดิษฐ์ จุมพลเสถียร. (2547). การสร้างแบรนด์และการสื่อสารการตลาด. กรุงเทพมหานคร: แพคอินเตอร์กรุ๊ป.

พรทิพย์ วรกิจโภคาทร. (2536). ภาพพจน์กับการประชาสัมพันธ์ ประชาสัมพันธ์เพื่อการบริหาร. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภพพรหมินทร์ วโรตม์วัฒนานนท์. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสื่อสารแบบปากต่อปากในยุคดิจิทัล. วารสารการสื่อสารและการจัดการ นิด้า, 1(1), 86-100.

รัฐวิทย์ ทองภักดี. (2555). 30 กลยุทธ์ลับพิชิตตลำดเหนือคู่แข่ง (30 Secret Marketing Strategies). นนทบุรี: ธิงค์บียอนด์บุ๊คส์.

รัตน์ชนก มากะพันธ์. (2563). การสื่อสารการตลาดเชิงบูรณาการเพื่อสร้างการรับรู้คุณค่า อุทยานการอาชีพชัยพัฒนาจังหวัดนครปฐม. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิทวัส รุ่งเรืองผล. (2553). การส่งเสริมการตลาด (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: มาร์เก็ตติ้งมูฟ.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2552). การบริหารตลาดยุคใหม่. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสาร.

เสรี วงษ์มณฑา. (2542). กลยุทธ์การตลาด: การวางแผนการตลาด. กรุงเทพมหานคร: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.

เสรี วงษ์มณฑา. (2554). กลยุทธ์การตลาด วางแผนการตลาด. กรุงเทพมหานคร: ดวงกมลสมัย.

อิสราภรณ์ งามจิรวิวัฒน์. (2563). ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อหนังสือนวนิยายวายของผู้บริโภคในจังหวัดกรุงเทพมหานคร. ใน ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต วิทยาลัยการจัดการ. มหาวิทยาลัยมหิดล.

Kotler, P. (2000). Marketing Management (The Millennium edition ed.). Prentice Hall: Inc.

Kotler, P. (2003). Marketing Management (11th ed.). Prentice Hall: Inc.