ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยของคนเดินเท้าในการใช้ทางข้าม

Main Article Content

เบญญา สุภเดช
ธานี วรภัทร์

บทคัดย่อ

บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และกฎหมายที่เกี่ยวกับความปลอดภัยของคนเดินเท้าในการใช้ทางข้าม ทั้งมาตรการลงโทษ มาตรการเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัย รวมถึงวิเคราะห์เปรียบเทียบกฎหมายจราจรของประเทศไทยและต่างประเทศในเรื่องดังกล่าว เพื่อนำผลที่ได้จากการศึกษาไปเสนอแนวทางการพัฒนาปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายให้เหมาะสมกับสภาพสังคมในปัจจุบัน ทั้งนี้ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาค้นคว้าข้อมูลจาก เอกสารตำรา วิทยานิพนธ์ รายงานวิจัยต่าง ๆ บทความ ตัวบทกฎหมาย รวมถึงการสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต ผลการวิจัยพบว่า ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยของคนเดินเท้าในการใช้ทางข้าม ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ยังคงมีช่องว่างทางกฎหมายอยู่จึงต้องแก้ไขปัญหาดังกล่าวเพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนี้ 1) แก้ไขคำนิยามของทางข้าม" ให้ครอบคลุมถึงบริเวณ "ทางแยก" ด้วย เพื่อให้ผู้ขับขี่ตระหนักอยู่เสมอว่าบริเวณทางแยกเป็นทางข้ามสำหรับคนเดินเท้าใช้ข้ามถนน และผู้ขับขี่มีหน้าที่ต้องหยุดรถให้คนเดินเท้าข้ามถนนไปก่อน 2) บัญญัติหน้าที่ของผู้ขับขี่ให้ซัดเจนว่าจะต้อง “หยุด” รถให้คนเดินเท้าที่กำลังข้ามถนนด้วยทางข้ามก่อนเสมอ 3) บัญญัติโทษกรณีผู้ขับขี่ไม่หยุดรถให้คนเดินเท้าใช้ทางข้ามและกระทำความผิดซ้ำ 4) บัญญัติโทษให้หนักขึ้นตามความร้ายแรงของการเกิดอุบัติเหตุ กรณีคนเดินเท้าได้รับอันตรายต่อกายและจิตใจ ได้รับอันตรายสาหัส  หรือถึงแก่ความตาย 5) บัญญัติกฎหมายให้นำมาตรการเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัยของต่างประเทศมาประยุกต์ใช้ เช่น แผงกั้นทางข้าม เสียงสัญญาณข้ามถนน ทางเดินสำหรับผู้พิการทางสายตาที่พาดผ่านทางข้าม และสัญญาณไฟจราจรแบบปุ่มกด เป็นต้น

Article Details

How to Cite
สุภเดช เ. ., & วรภัทร์ ธ. . (2023). ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยของคนเดินเท้าในการใช้ทางข้าม. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 10(4), 239–251. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/268662
บท
บทความวิจัย

References

เกรียงไกร เรืองทรัพย์เดช. (2565). เปิดประวัติทางข้ามถนน จาก The Beatles สู่ทางม้าลายแห่งอนาคต. เรียกใช้เมื่อ 22 มีนาคม 2565 จาก https://www.nationtv.tv/ original/378861625

เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. (2551). คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค 1 (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์พลสยามพริ้นติ้ง (ประเทศไทยจำกัด).

ไทยรัฐออนไลน์. (2564). คนไทยยังขับรถแย่ ทำสถิติอุบัติเหตุบนท้องถนนสูงโด่งนำอันดับ 1 ในเอเชียและอาเซียน. เรียกใช้เมื่อ 5 มีนาคม 2565 จาก https://www.thairath.co.th/ news/auto/news /2068299

กรุงเทพธุรกิจ. (2565). ผ่าสถิติบทลงโทษคนเดินเท้าคนขับรถฝ่าฝืนกฎทางม้าลายถูกปรับแค่ไหน. เรียกใช้เมื่อ 9 มีนาคม 2565 จาก https://www.bangkokbiznews.com/ news/984730

กองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2565). คนเดินเท้ากับความปลอดภัยบนทางม้าลาย. เรียกใช้เมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2565 จาก https://dip.ddc.moph.go.th/new /data_benefit

ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน. (2557). ทฤษฎีอาชญาวิทยา (หน่วย 6) แนวการศึกษาชุดวิชา กฎหมายอาญาและอาชญาวิทยาชั้นสูง. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ดำรงค์ วิเชียรสิงห์. (2530). ปัญหาจริยธรรมที่เกี่ยวกับการทำสงคราม. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต.สาขาวิชาปรัชญา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิพวัลย์ ทองอาจ. (2553). การออกแบบเพื่อมวลชน (Universal Design). เรียกใช้เมื่อ 1 มีนาคม 2565 จาก https://www.bu.ac.th/ knowledgecenter/executive_ journal/july_sep_10/pdf/aw12.pdf

นิตยสารและสื่อออนไลน์ที่เล่าเรื่องเที่ยวญี่ปุ่น ศิลปะ ไลฟ์สไตล์แบบคนญี่ปุ่น. (2560). ทางเดินสีเหลืองสำหรับผู้พิการทางสายตา. เรียกใช้เมื่อ 9 พฤษภาคม 2565 จาก https://kiji.life/tactile-paving/

Adam H. (2021). Failing to Yield to a Pedestrian in New York. Retrieved March 29, 2022 , from https://traffictickets.com/new-york/traffic-tickets/failing-yield/ pedestrian/