ประสิทธิผลของการสื่อสารการตลาดเพื่อสังคมผ่านสื่อออนไลน์ที่มีต่อ การส่งเสริมการใช้พื้นที่สีเขียวในกรุงเทพมหานคร ตามทฤษฎีลำดับขั้นการเปลี่ยนแปลง

Main Article Content

สิรีพร คำแดง
นธกฤต วันต๊ะเมล์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาการเปิดรับข้อมูลข่าวสารการสื่อสารทางการตลาดเพื่อสังคมผ่านสื่อออนไลน์ และการรับรู้ความสามารถตามลำดับขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นการตระหนักรู้ ขั้นการเตรียมความพร้อม ขั้นการปฏิบัติ และขั้นการปฏิบัติซ้ำ ต่อการใช้พื้นที่สีเขียวในกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ สมาชิก Facebook Fan Page ของสวนสาธารณะหลักในกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้วิจัย ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (MRA) ผลการวิจัยพบว่า การเปิดรับข้อมูลข่าวสารการสื่อสารทางการตลาดเพื่อสังคมผ่านสื่อออนไลน์ มีดังนี้ 1) ข้อมูลทั่วไปส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 20 - 30 ปี มีอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ต่ำกว่า 15,000 บาท 2) การเปิดรับข้อมูลข่าวสารการสื่อสารการตลาดเพื่อสังคมผ่านสื่อออนไลน์อยู่โดยรวมอยู่ในระดับบางครั้ง และ Facebook มีการเปิดรับสูงที่สุด อยู่ในระดับบางครั้ง มีการตระหนักรู้ อยู่ในระดับมาก การเตรียมความพร้อม การปฏิบัติ และการปฏิบัติซ้ำ อยู่ในระดับบ่อยครั้ง และประสิทธิผลของการสื่อสารการตลาดเพื่อสังคมผ่านสื่อออนไลน์พบว่า 1) TikTok (β = .250), Facebook (β = .240) และ Twitter (β = .223) มีอิทธิพลต่อการตระหนักรู้ 2) Instagram (β = .251) มีอิทธิพลต่อการเตรียมความพร้อม 3) Facebook (β = .312) มีอิทธิพลการปฏิบัติ 4) Facebook (β = .245) และ Instagram (β = .179) มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติซ้ำ การวิจัยนับเป็นประโยชน์ต่อการไปวางแผนการสื่อสารการตลาดเพื่อสังคมผ่านสื่อออนไลน์สามารถส่งเสริมการใช้พื้นที่สีเขียวให้กับประชาชนในกรุงเทพมหานครได้อย่างมีประสิทธิผลและตอบสนองความพึงพอใจของผู้ใช้ได้มากที่สุด

Article Details

How to Cite
คำแดง ส. ., & วันต๊ะเมล์ น. . (2023). ประสิทธิผลของการสื่อสารการตลาดเพื่อสังคมผ่านสื่อออนไลน์ที่มีต่อ การส่งเสริมการใช้พื้นที่สีเขียวในกรุงเทพมหานคร ตามทฤษฎีลำดับขั้นการเปลี่ยนแปลง. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 10(4), 212–225. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/268660
บท
บทความวิจัย

References

พรรณี ปานเทวัญ และ อายุพร ประสิทธิเวชชากูร. (2557). การประยุกต์ทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสูบบุหรี่. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(1), 36-44.

วิชญ์ชยา ฐิติจิรวิชญ์. (2560). พฤติกรรมการเปิดรับสื่อออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมความงาม. ใน วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการสื่อสารการตลาดดิจิทัล. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สำนักข่าวอิศรา. (2565). พื้นที่สีเขียว ดัชนีความสุขคนกรุง ส่วน กทม.ยังห่างไกลจากคำว่า เมืองสิ่งแวดล้อม. เรียกใช้เมื่อ 19 ธันวาคม 2565 จาก https://www.isranews.org /article/isranews- scoop/107414-isranews-246.html

Everyday Marketing. (2022). Summary of 52 important insights from Thailand Digital Stat 2022 of We Are Social. Retrieved January 3, 2023, from https://www.everydaymarketing.co/trend-insight/insight-thailand-digital-stat-2022-we-are-social/

Kotler, P. (2003). Marketing management (11th ed.). Upper Saddle River. NJ: Prentice- hall.

Prochaska, J. O. (1997). The Transtheoretical Model of Health Behavior Change. American Journal of Health Promotion, 12(1), 38-48.

Prochaska, J. O., & DiClemente, C. (1983). Stages and Processes of Self-Change of Smoking: Toward an Integrative Model of Change. Journal of Counselimg and Clinical Psychology, 51(3), 390-395.

The Growth Master. (2021). Social Marketing Fever shines a concept, long-term benefits from social marketing. Retrieved December 25, 2022, from https://thegrowthmaster.com/blog/social-marketing-fever

We Are Social. (2021). Thailand Digital Stat 2021 report from We Are Social. Retrieved December 25, 2022 , from https://www.everydaymarketing.co/ knowledge/thailand-digital-stat-2021-we-are-social/

Brand Inside. (2022). Go Green Together, a new campaign from KBank that invites everyone to take care of the environment with the concept of 8R. Retrieved December 19, 2022 , from https://brandinside.asia/kbank-go-green-together/