ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับนวัตกรรมบริการทางการแพทย์ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตของบุคลากรทางการแพทย์ ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

Main Article Content

กรวัฒน์ ไตรวัย
ขจร ฝ้ายเทศ
วราพรรณ อภิศุภะโชค

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการยอมรับนวัตกรรม ความตั้งใจใช้งาน และพฤติกรรมด้านการใช้งานของบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 2) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการยอมรับนวัตกรรมที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจใช้งานเชิงพฤติกรรมเพื่อการศึกษาการยอมรับนวัตกรรมการประยุกต์ใช้งานบริการทางการแพทย์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในพื้นที่ชนบท 3) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการใช้งานสารสนเทศที่มีที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจใช้งานเชิงพฤติกรรมเพื่อการศึกษาการยอมรับนวัตกรรมการประยุกต์ใช้งานบริการทางการแพทย์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในพื้นที่ชนบท และ 4) เพื่อศึกษาอิทธิพลด้านการยอมรับนวัตกรรม ความตั้งใจใช้งาน และพฤติกรรมด้านการใช้งาน ใช้วิธีการวิจัยแบบผสม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และการสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุผลการวิจัยพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับนวัตกรรมบริการทางการแพทย์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตของบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการยอมรับนวัตกรรม มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ด้านความตั้งใจเชิงพฤติกรรมในการใช้งาน ด้านการใช้งานสารสนเทศ และ ลำดับสุดท้ายคือ ด้านเทเลเฮลธ์ ตามลำดับ และ  ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยด้านเทเลเฮลธ์ มีอิทธิพลต่อความตั้งใจเชิงพฤติกรรมในการใช้งานนวัตกรรมของบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 การวิจัยครั้งนี้ได้นำเสนอข้อเสนอแนะในการเพิ่มสัญญาณอินเตอร์เน็ตในส่วนภูมิภาคเพื่อให้การทำงานของแพทย์มีประสิทธิภาพมากขึ้น

Article Details

How to Cite
ไตรวัย ก. ., ฝ้ายเทศ ข., & อภิศุภะโชค ว. . (2023). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับนวัตกรรมบริการทางการแพทย์ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตของบุคลากรทางการแพทย์ ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 10(4), 196–211. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/268659
บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2561). สถิติสำหรับงานวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

คนอง อินทร์โชติ. (2564). การศึกษา คุณภาพของระบบสารสนเทศ การยอมรับเทคโนโลยีและนวตักรรมทางการแพทย์ ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการแอปพลิเคชันปรึกษาแพทย์ออนไลน์ของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร. ใน สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชีพ. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ณัติกาญจน์ สิริกาญนุกูล. (2565). การศึกษาการรับรู้ของลูกค้าและรูปแบบการพัฒนานวัตกรรมที่มีต่ออุตสาหกรรมบริการของธุรกิจในกลุ่มศูนย์การติดต่อ (Contact Center). ใน สารนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต สาขาการจัดการบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยมหิดล.

บุญชม ศรีสะอาด. (2564). หลักการวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: สุวิริยาสาส์น.

บุษยารัตน์ ศิลปวิทยาทร. (2563). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านสุขภาพในการพยาบาลเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย. Journal of Nursing and Health Care, 38(2), 6-14.

วรัณญา สิทธิมั่นคง. (2563). การยอมรับเทคโนโลยีและความตั้งใจใช้ TELEMEDICINE ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. ใน สารนิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการตลาด. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงาน กสทช. (2562). เดินหน้าโครงการ Telehealth . กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ.

สำนักงาน กสทช. (2563). รายงานประจำปี 2563 การกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการทรคมนาคม. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ.

สุขุม เฉลยทรัพย์ และคณะ. (2564). เทคโนโลยีสารสนเทศ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.