ความพิการทางการได้ยินกับการเข้าถึงบริการข้อมูลข่าวสาร บนแพลตฟอร์มออนไลน์ของสื่อมวลชน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้ง มีวัตถุประสงค์ประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการของคนพิการทางการได้ยินในการเข้าถึงบริการข้อมูลข่าวสารบนแพลตฟอร์มออนไลน์ของสื่อมวลชน และ 2) เปรียบเทียบความต้องการในการเข้าถึงบริการข้อมูลข่าวสาร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ด้านเพศ อายุ ชั้นปีที่กำลังเรียน ลักษณะการมาเรียน ภูมิลำเนา และการจดทะเบียนคนพิการ โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ คนพิการทางการได้ยินที่เป็นผู้เรียนในโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดอุดรธานี จำนวน 187 คน กลุ่มเป้าหมายการวิจัยได้มาโดยเลือกแบบเจาะจง จำนวน 23 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความต้องการเข้าถึงบริการข้อมูลข่าวสารบนแพลตฟอร์มออนไลน์ของสื่อมวลชน จำนวน 4 ด้าน ประกอบด้วย 1) ความต้องการด้านเนื้อหาสื่อ 2) ความต้องการด้านรูปแบบสื่อบนแพลตฟอร์มออนไลน์ 3) ความต้องการด้านช่องทางการสื่อสาร และ 4) ความต้องการด้านผู้สื่อสาร สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าทดสอบสถิติที ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการของคนพิการทางการได้ยินที่เป็นผู้เรียนในโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดอุดรธานี ในการเข้าถึงบริการข้อมูลข่าวสารบนแพลตฟอร์มออนไลน์ของสื่อมวลชน ทั้งในภาพรวมและในรายด้านอยู่ในระดับสูง (ค่าเฉลี่ย = 4.26, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.61) และ 2) คนพิการทางการได้ยินที่เป็นผู้เรียนในโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดอุดรธานีที่มีปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ด้านเพศ อายุ ชั้นปีที่กำลังเรียน ลักษณะการมาเรียน ภูมิลำเนา และด้านการจดทะเบียนคนพิการที่แตกต่างกัน มีความต้องการในการเข้าถึงบริการข้อมูลข่าวสารบนแพลตฟอร์มออนไลน์ของสื่อมวลชนไม่แตกต่างกัน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมส่งเสริมและพัฒนาชีวิตคนพิการ. (2563). รายงานข้อมูลสถานการณ์ด้านคนพิการแบ่งตามภูมิภาคของประเทศไทย 2562 - 2563. เรียกใช้เมื่อ 30 ตุลาคม 2565 จาก https://dep.go.th/th/.
คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2565 – 2569). กรุงเทพมหานคร: กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ.
ตรี บุญเจือ. (2562). คนพิการกับการเข้าถึงหรือรับรู้และใช้ประโยชน์จากกิจการโทรทัศน์. วารสารวิชาการ กสทช, 3(3), 119-147.
ตุลพล อรุมชูตี และวรดี จงอัศญากุล. (2565). การใช้บริการแอปพลิเคชันวิดีโอสตรีมมิ่งของเจเนอเรชัน X, เจเนอเรชัน Y และเจเนอเรชัน Z. Journal of Modern Learning Development, 7(8), 34-48.
ธีร์ธวัช เจนวัชรรักษ์. (2564). ข้อกำหนดเพื่อการเข้าถึงสื่อของคนพิการเชิงเปรียบเทียบ กรณีศึกษา: สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย เยอรมนี ญี่ปุ่น. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม, 11(1), 128-149.
นิรันดร์ บุญสิงห์. (2563). วิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุของความเหลื่อมล้ำทางสังคมกับการเข้าถึงบริการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ป่วยเอดส์ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 17(2), 62-73.
ปริญญา สิริอัตตะกุล. (2557). ความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเพื่อการพึ่งตนเองของผู้พิการทางการได้ยิน: กรณีศึกษา จังหวัดชลบุรี. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 1(1), 129-152.
วิภาดา อำไพ และคณะ. (2562). อิทธิพลของสื่อสังคมออนไลน์กับการสร้างกลยุทธ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมด้านการค้าและการบริการ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 16(1), 171-180.
สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ. (2558). การดูแลผู้ป่วยและคนพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย. นนทบุรี: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง.
สายทิพย์ ปิ่นเจริญ. (2558). ปัญหาอุปสรรคในการสื่อสารระหว่างคนพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมายกับพนักงานสอบสวน : กรณีศึกษาสถานีตำรวจในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร. ใน สารนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานยุติธรรม. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สิโรดม มณีแฮด และคณะ. (2564). ความแตกฉานด้านสุขภาพกับพฤติกรรมป้องกันโรคในหมู่ผู้เรียนทางสื่อสารการกีฬาในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19). วารสารปัญญาปณิธาน, 6(2), 155-168.
สิโรดม มณีแฮด และคณะ. (2565). สื่อการเรียนรู้พลศึกษาภายใต้การระบาดของโควิด-19 ผ่านโทรทัศน์ข้ามโครงข่ายสำหรับทักษะฟุตซอล. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(1), 227-241.
หอมหวล บัวระภา. (2565). ความต้องการของผู้สูงอายุและความพร้อมของสถาบันที่ให้บริการผู้สูงอายุ. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7(6), 83-97.
อมร พงษ์สว่าง และสิทธิพรร์ สุนทร. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของคนพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมายในจังหวัดสระบุรี. Journal of Modern Learning Development, 6(6), 104-117.