แนวทางการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในยุคนิวนอร์มัล เขตอำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

ศิรดา เกตุนิ่ม
มะลิวัลย์ โยธารักษ์
สามิตร อ่อนคง

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาสภาพการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2) ศึกษาแนวทางการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในยุคนิวนอร์มัล และ 3) นำเสนอแนวทางการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในยุคนิวนอร์มัล เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี ประชากร 89 คน เครื่องมือ คือแบบสอบถาม  แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า1) สภาพการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่าโดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ด้านบุคลากร ด้านวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตร ด้านการมีส่วนร่วมและส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ด้านส่งเสริมเครือข่ายการพัฒนาเด็กปฐมวัยในระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ระดับอำเภอ ระดับจังหวัด และระดับภาค และด้านอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อม และความปลอดภัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 2) แนวทางการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในยุคนิวนอร์มัล พบว่า ด้านการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ด้านบุคลากร ด้านอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อม และความปลอดภัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ด้านวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตร ด้านการการมีส่วนร่วมและส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และด้านส่งเสริมเครือข่ายการพัฒนาเด็กปฐมวัยในระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ระดับอำเภอ ระดับจังหวัด และระดับภาค มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหาร 3) ผลการนำเสนอแนวทาง ผู้ทรงคุณวุฒิเห็นว่าแนวทางการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในยุคนิวนอร์มัล มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ และมีความเป็นประโยชน์

Article Details

How to Cite
เกตุนิ่ม ศ. . ., โยธารักษ์ ม. . ., & อ่อนคง ส. . . (2023). แนวทางการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในยุคนิวนอร์มัล เขตอำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 10(4), 97–109. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/268652
บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2547). คู่มือศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น.

นันทิยา น้อยจันทร์. (2563). แนวทางการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการเสริมสร้างพัฒนาการเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 16(2), 194-206.

พรพรรณ อรุณเวช. (2557). การศึกษาสภาพการบริหารจัดการศึกษาสำหรับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดจันทบุรี. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 (ฉบับที่ 1). (2542). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 116 ตอนที่ 74 ก หน้า 13 (14 สิงหาคม 2542).

พีรพัฒน์ มุมอ่อน. (2557). ความสำเร็จของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก:กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลโนนข่า อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

รัศมี ตู้จินดา. (2557). การบริหารงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสิงห์บุรี. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

วรรณี เด่นสมุทร. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามมาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดสำนักงานเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

วันเพ็ญ กงเพชร. (2558). การบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลเสือโก้ก อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 5(2), 38-48.

ศิษฏ์ชนา ดวงบาล และคณะ. (2562). แนวทางการพัฒนาครูด้านการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนโรงเรียนวัดแม่แก้ดน้อย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2. วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา, 10(1), 242-253.

สิริกร รอดประยูร. (2559). ความคิดเห็นของผู้ปกครองต่อการจัดการศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในเขตอำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

สุพัตรา บุตร์มี และคณะ. (2563). เรื่องแนวทางการบริหารงานนิเทศการจัดการเรียนรู้วิถีใหม่ของโรงเรียนบ้านเวียงพานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3. วารสารสังคมพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 3(1), 1-15.

สุรศักดิ์ อรรถจินดา. (2563). การจัดการสภาพแวดล้อมทางกายภาพทั่วไป และภายใต้สถานการณ์ COVID-19 ของโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม. ใน สารนิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สุวิมล มธุรส. (2564). การจัดการศึกษาในระบบออนไลน์ในยุค New NORMAL COVID-19. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(15), 33-40.

Phrombut.S. (2564). 4New4normal4with4changing4lifestyles. Retrieved สิงหาคม 18 , 2564 , from https://dsp.dip.go.th/en/category