ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับตุลาการศาลทหาร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเรื่องปัญหากฎหมายเกี่ยวกับตุลาการศาลทหารตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 และข้อบังคับที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย โดยมีวิธีดำเนินการศึกษาวิจัยเป็นการศึกษาวิจัยเอกสาร โดยการรวบรวมข้อมูลที่เป็นเอกสารเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวนี้ทั้งที่เป็นของประเทศไทยและต่างประเทศ โดยศึกษาบทบัญญัติในกฎหมายควบคู่ไปกับหลักการของบทบัญญัติดังกล่าว ซึ่งได้จากกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตำราและบทความภาษาไทย เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบกับแนวทางของประเทศไทยกับต่างประเทศ เพื่อศึกษาสาเหตุของปัญหาความน่าเชื่อถือของตุลาการศาลทหารและเพื่อค้นหาแนวทางในการเสนอแนะข้อควรปรับปรุงเกี่ยวกับคุณสมบัติหรือที่มาของตุลาการทหารต่อไป ผลการวิจัยพบว่า ศาลทหารในประเทศไทยมีปัญหากฎหมายเกี่ยวกับตุลาการ ได้แก่ปัญหาเหตุผลและความจำเป็นของศาลทหาร ปัญหาการที่ศาลทหารมีเขตอำนาจศาลไม่เหมาะสม ปัญหาการที่กฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดคุณสมบัติของตุลาการศาลทหารมีการกำหนดเนื้อหาเอาไว้ไม่รัดกุมเพียงพอ ปัญหาการเข้าสู่ตำแหน่งตุลาการศาลทหารโดยการคัดเลือกซึ่งไม่ได้มีการทดสอบหรือสอบคัดเลือก ปัญหาการที่ศาลทหารเป็นองค์กรตุลาการที่อยู่ภายใต้การควบคุมบริหารจากกรมพระธรรมนูญที่เป็นหน่วยงานฝ่ายบริหาร ตุลาการในศาลทหารมีสถานะเป็นข้าราชการในสังกัดกระทรวงกลาโหมจึงมีปัญหาเรื่องความเป็นอิสระของตุลาการ ผู้วิจัยจึงเห็นว่า สมควรปรับปรุงแก้ไขบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องบางมาตราเพื่อให้กฎหมายมีความชอบด้วยหลักนิติธรรม หลักการแบ่งแยกอำนาจ หลักความเสมอภาค และหลักความเป็นอิสระของตุลาการ ทำให้ศาลทหารสามารถคุ้มครองสิทธิของประชาชนได้ดีขึ้นและสามารถมีมาตรฐานความยุติธรรมที่สูงขึ้นเทียบเท่ากับศาลยุติธรรม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
โฮเซ ไซตูน. (2550). หลักการสากลว่าด้วยความเป็นอิสระและความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้พิพากษา ทนายความและอัยการ : แนวทางสำหรับนักปฏิบัติลำดับที่ 1 ใน สมชาย หอมลออ. ความเป็นอิสระ. (23). เจนีวา: International Commission of Jurists .
ถาวร เกียรติทับทิว. (2546). หลักการแบ่งแยกอำนาจและความสัมพันธ์ขององค์กรที่ใช้อำนาจอธิปไตยตามแนวคิดของมองเตสกิเออ. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์, 43(3), 155-185.
ทวีป มหาสิงห์. (2563). การก่อรูป “ทฤษฎีความยุติธรรม” ของจอห์น รอลส. วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์, 11(ฉบับเพิ่มเติม). 11-17.
พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร. (2498). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 72 ตอนที่ 83 หน้าที่ 1415 (18 ตุลาคม 2498).
ภาคภูมิ โกกะอินทร์. (2549). หลักความเสมอภาคในระบบกฎหมายไทย. ใน วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ม.ล. ชาญโชติ ชมพูนุท. (2556). ทฤษฎีสัญญาประชาคม. เรียกใช้เมื่อ 5 พฤศจิกายน 2565 จาก http://www.thaiihdc.org/web/index.php?option=com_content&view =article&id=424:556-06-10-05-19-41&catid=4:2557-06-25-06-55-40&Itemid=23
มานิตย์ จุมปา. (2550). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: บริษัท วี. พริ้นท์ (1991) จำกัด).
ฤทธิภัฏ กัลป์ยาณภัทรศิษฏ์. (2559). การถ่วงดุลและตรวจสอบฝ่ายตุลาการในระบบกฎหมายไทย. ใน ดุษฎีนิพนธ์นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขานิติศาสตร์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Office of the High Commissioner for Human Rights. (2003). in cooperation with the International Bar Association, Professional Training Series No.9: Human Rights in the Administration of Justice A Manual on Human Rights for Judges, Prosecutors and Lawyers. Retrieved January 26, 2023, from https://www.ohchr.org/sites/default/files/Documents /Publications/training9Titleen.pdf