ผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานร่วมกับการใช้รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค การเรียนรู้ในรายวิชาหลักสถิติ สำหรับนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเอกชนในจังหวัดนครปฐม

Main Article Content

วิไลวรรณ ทองใบอ่อน
นิตยา เปล่งเจริญศิริชัย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ทางการเรียนรายวิชาหลักสถิติก่อนเรียน และหลังเรียนด้วยวิธีการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานร่วมกับการใช้รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคการเรียนรู้ร่วมกัน และ 2) ศึกษาระดับความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานร่วมกับการใช้รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคการเรียนรู้ร่วมกันในรายวิชาหลักสถิติ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา TSTA3102 หลักสถิติ จำนวน 56 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลการเรียนรายวิชา TSTA3102 หลักสถิติ จำนวน 40 ข้อ และแบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานร่วมกับการใช้รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคการเรียนรู้ร่วมกัน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติทดสอบทีแบบจับคู่ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ทางการเรียนรายวิชาหลักสถิติก่อนเรียน และหลังเรียนด้วยวิธีการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานร่วมกับการใช้รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคการเรียนรู้ร่วมกัน นักศึกษาที่เรียนด้วยวิธีการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานร่วมกับการใช้รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคการเรียนรู้ร่วมกัน มีผลการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และ 2) ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับการใช้รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคการเรียนรู้ร่วมกัน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
ทองใบอ่อน ว. ., & เปล่งเจริญศิริชัย น. . (2023). ผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานร่วมกับการใช้รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค การเรียนรู้ในรายวิชาหลักสถิติ สำหรับนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเอกชนในจังหวัดนครปฐม. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 10(3), 336–350. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/268629
บท
บทความวิจัย

References

จักรกฤษณ์ สิริริน. (2561). Blended Learning ชั่วโมงนี้ดีที่สุด เหมาะสุดสำหรับผู้เรียนและผู้สอนในยุคดิจิทัล. เรียกใช้เมื่อ 23 เมษายน 2564 จาก https://www.salika.co /2018/09/05/blended-learning/

ชนินทร์ พุ่มบัณฑิต. (2563). พัฒนาการผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยเทคนิคการสอนแบบร่วมมือ(LearningTogether: LT) สำหรับการเรียนการสอนวิชาการคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมทางธุรกิจ ในยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารจันทรเกษมสาร, 26(1), 61-73.

ณรัณภัสสร์ ฐิติพัทธกุล. (2563). ถอดบทเรียนเปลี่ยนห้องเรียนสู่ online รับมือ COVID-19. เรียกใช้เมื่อ 22 เมษายน 2564 จาก https://www.disruptignite.com/blog /online-classroom-tips

เทื้อน ทองแก้ว. (2563). การออกแบบการศึกษาในชีวิตวิถีใหม่: ผลกระทบจากการแพร่ระบาด COVID-19 New Normal Based Design in Education: Impact of COVID-19. วารสารคุรุสภาวิทยาจารย์, 1(2), 1-10.

ธิดารัตน์ เลิศวิทยากุล. (2562). ประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมผลการเรียนรู้ รายวิชาจริยศาสตร์และกฎหมายวิชาชีพ สำหรับนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย, 9(พิเศษ), 125-132.

นัทธี สุรีย์. (2564). VR AR โลกใบที่สองเพื่อการเรียนรู้. EdSociate โครงการนวัตกรรมการศึกษาEdSociate ภายใต้วิทยาลัยการศึกษาตลอดชีวิต [Webinar]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปรีชา พินชุนศรี และฐิติกร จันทพลาบูรณ์. (2560). ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ส่งผลต่อพฤติกรรมเยาวชน. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 23(3), 532-539.

ปิยาพร สินธุโคตร. (2563). ประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น 2 ของนักเรียนพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 3วิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือ. วารสารแพทย์นาวี, 47(1), 158-171.

รุจิรา เศารยะสกุล ฐาปนี สีเฉลียว และศรีสุดา สิงห์ชุม. (2561). ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือตามรูปแบบแอล.ที เพื่อพัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม). วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 1(2), 98-105.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๗๙. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน. (2557). ยุทธการเปลี่ยน ‘ครูเฉย’ สู่ครูยุคศตวรรษที่21. เรียกใช้เมื่อ 10 เมษายน 2564 จาก http://seminar. qlf.or.th/Seminar/Topic/29

Hobri, H. et al. (2018). The implementation of Learning Together in Improving Students’ athematical Performance. International Journal of Instruction, 11(2), 483–496.

Schwager, S. et al. (2019). Healthy learning together. Development of a Tool for Schools to Prevent Psychological Problems among Children and Adolescents, 14(1), 3-8.