การพัฒนาแนวทางการให้อาหารทางสายยางในผู้ป่วยวิกฤต ของโรงพยาบาลราชบุรี โดยวิธีการวัดปริมาตรตกค้าง ในกระเพาะอาหาร (Gastric content)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางการให้อาหารทางสายยางในผู้ป่วยวิกฤตของโรงพยาบาลราชบุรี โดยวิธีการวัดปริมาตรตกค้างในกระเพาะอาหาร และศึกษาประสิทธิผลของแนวทางการให้อาหารทางสายยางในผู้ป่วยวิกฤตที่สร้างขึ้น การวิจัยนี้มี 6 ระยะหลัก คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพการณ์การให้อาหารทางสายยาง ระยะที่ 2 พัฒนาแนวทางการให้อาหารทางสายยางโดยวิธีการวัดปริมาตรตกค้างในกระเพาะอาหาร ระยะที่ 3 นำแนวทางฯไปใช้และประะเมินผล ระยะที่ 4 ปรับปรุงแนวทางฯ ระยะที่ 5 นำแนวทางไปใช้ซ้ำและประเมินผล และระยะที่ 6 รับรองรูปแบบแนวทางการที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลและญาติผู้ป่วย เครื่องมือวิจัยที่ได้รับการตรวจสอบคุณภาพ ได้แก่ แบบวัดความรู้ แบบประเมินทักษะ คู่มือแนวทางการให้อาหารทางสายยาง แบบสอบถามความพึงพอใจ และแบบบันทึกการเฝ้าระวัง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม การสังเกตพฤติกรรม และการทำแบบทดสอบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ทดสอบคะแนนที และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการให้อาหารทางสายยางในผู้ป่วยวิกฤตโดยวิธีการวัดปริมาตรตกค้างในกระเพาะอาหาร ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) สภาพการณ์ปัญหาของผู้ป่วย 2) การประเมินภาวะสุขภาพ 3) การปฏิบัติการพยาบาล 4) การป้องกันอาการไม่พึงประสงค์ 5) การบันทึกทางการพยาบาล และ 6) การดูแลด้านโภชนาการ กลุ่มตัวอย่าง มีคะแนนเฉลี่ยความรู้และทักษะสูงกว่าก่อนใช้แนวทางดังกล่าว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยพยาบาลพึงพอใจในภาพรวมเท่ากับ 4.35 ( = 4.35, SD = 0.51) และญาติของผู้ป่วยพึงพอใจ เท่ากับ 4.23 ( = 4.23, SD = 0.52) แนวทางดังกล่าวสามารถนำไปพยาบาลแก่ผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสมตามมาตรฐานการพยาบาล
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จันทรา กุลแก้ว และคณะ. (2563). ผลของการสอนการใหอาหารทางสายยางโดยใช้สื่อวีดิทัศนต่อความรู้ และการปฏิบัติของญาติหรือผู้ดูแลโรงพยาบาลพิจิตร. วารสารวิจัยและวิชาการสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร, 1(2), 25-30.
ณัฐตินา วิชัยดิษฐ และคณะ. (2561). การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมความสามารถของผู้ดูแลในการจัดการ ภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุติดเตียงที่ใส่สายให้อาหารทางจมูก. วารสารสภาการพยาบาล, 33 (4), 109-123.
พัฒนา พรหมมณี. (2562). การวัดระดับทักษะในการดำเนินงานด้านการสาธารณสุข. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยปทุมธานี, 11(1) , 284-293.
สมาคมผู้ให้อาหารทางหลอดเลือดดำและทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย. (2561). คำแนะนำการดูแลทางโภชนาการในผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่นอนโรงพยาบาล พ.ศ. 2561. ปรับปรุงครั้งที่ 1: มีนาคม พ.ศ. 2562. เรียกใช้เมื่อ 3 ตุลาคม 2565 จาก https://w1.med. cmu.ac.th/family/knowledge/for-doctor/guideline/3416
สุภา สุรเศรณีวงศ์ และคณะ. (2561). ประสิทธิผลการสอนแบบกลุ่มของผู้ดูแลในการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยที่ให้อาหารทางสายยางที่ใส่ผ่านรูจมูกที่บ้าน. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 32(2), 117-135.
อภิวรรณ อินทรีย์ และ ดลวิวัฒน์ แสนโสม. (2561). ผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกในการให้สารอาหารในผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมอุบัติเหตุ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา, 25(2), 118-137.
อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2557). สถิติในงานวิจัย เลือกใช้อย่างไรให้เหมาะสม. กรุงเทพมหานคร: วิทยพัฒน์.
Bloom Benjamin S., et al. (1956). Taxonomy of Educational Objectives. New York: David Mckay Company.
Hanlon, C., Dowsett, J., & Smyth, N. (2015). Nutrition assessment of the intensive care unit patient. Topical clinical nutrition, 30(1), 47-70.
McClave SA, et al. (2005). Poorvalidity of residual volumes as a marker for risk of aspiration in critically ill patients. Journal of Crit Care Med, 33(2),324-30.
Montejo JC, et al. (2010). Gastricresidual Volume during enteral nutrition in ICU patients: the REGANE study Intensive. Journal of Crit Care Med, 36(8),86-93.
Poulard, F.,et al. (2010). Impact of not measuring residual gastric volume in mechanically ventilated patients receiving early enteral feeding A prospective before–after study. Journal of Parenteral and Enteral Nutrition, 34(2), 125-130.