ทัศนคติในเรื่องกฎแห่งกรรมที่มีต่อศีล 5
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้ได้นำเสนอทัศนะในเรื่องกฎแห่งกรรมที่มีต่อศีล 5 อันเป็นพื้นฐานแห่งศีลธรรม และจริยธรรมความเป็นมนุษย์อันสมบูรณ์ ด้วยวัตถุประสงค์ในการแสดงทัศนคติในเรื่องกฎแห่งกรรมที่มีต่อศีล 5 ได้ผนวกและเชื่อมโยงกับหลักคติธรรมในพระพุทธศาสนาทั้งที่เป็นเหตุและผลของกรรม โดยทัศนะที่พบในการศึกษาครั้งนี้ มี 3 ทัศนะคติ ได้แก่ 1) ทัศนะที่จำแนกได้เป็นประเด็นหลัก ๆ คือ ประเด็นของกรรมดี ที่ให้ผลดี และกรรมชั่วที่ให้ผลชั่ว โดยมีทัศนะว่า เมื่อบุคคลทำกรรมอันใดไม่ว่าจะดีหรือชั่ว เป็นกุศล หรืออกุศลย่อมจะได้รับผลแห่งกรรมอันตนกระทำแล้วนั้น 2) ทัศนะของกรรมในศีล 5 ที่มีการกระทำหรือแสดงออกนั้น พบว่า มีนัยยะแห่งกรรมทางกายมีกายกรรม ด้วยการเว้นจากการประพฤติผิดในปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน และกรรมทางวาจามีการประพฤติเว้นจากการกล่าววาจามุสาวาท โดยทัศนะแห่งกรรมทางกายที่กำหนดพฤติกรรมของการแสดงออกด้วยการงดเว้น ละเว้นการประพฤติผิดทางกายทุจริต และวจีทุจริต แต่อย่างไรก็ตาม ศีลห้ายังมีความเชื่อมโยงแห่งพฤติกรรมด้วยเจตนางดเว้น ซึ่งเป็นมโนกรรม อันเกิดแต่ทางจิตใจ 3) ทัศนะของกฎแห่งกรรม คือ ผลของกรรมทั้งดีและชั่ว ทั้งที่เป็นกุศลกรรมและอกุศลกรรม จะมีความหนักเบา เร็วช้า ขึ้นอยู่กับเหตุแห่งการกระทำหรือการรับผลของกรรมอันมีเจตนาเป็นที่ตั้ง ได้เชื่อมโยงต่อผลกรรมที่จะเกิดขึ้นด้วยเหตุปัจจัย 4 ประการ คือ ครุกรรม อาจิณณกรรม อาสันนกรรม กตัตตากรรม
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ทองหยก เลียงพิบูลย์. (2558). กฎแห่งกรรม ฉบับสมบูรณ์ เรามีกรรมเป็นของตน เล่ม 1. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม.
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2548). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุดคำวัด. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม.
พระพุทธโฆสเถระ. (2546). คัมภีร์วิสุทธิมรรค แปลและเรียบเรียง สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร). (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: บริษัทประยูรวงศ์พริ้นติ้ง จำกัด.
พระมหาเอกชัย สุชโย (คำลือ). (2560). ศึกษาวิเคราะห์มิจฉาทิฏฐิและสัมมาทิฏธิในพุทธปรัชญาเถรวาท. ใน วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัญฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา. มหามกุฏราชวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2537). พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วศิน อินทสระ. (2556). อธิบายมิลินทปัญหา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ธรรมดา.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2561). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 31). กรุงเทพมหานคร: บริษัท สหธรรมิก จำกัด.
ไสว มาลาทอง. (2542). การศึกษาจริยธรรม สำหรับนักเรียน นิสิต นักศึกษา นักบริหาร นักปกครองและประชาชน ผู้สนใจทั่วไป. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.