ความสัมพันธ์เชิงคาโนนิคอลระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการ ของผู้บริหารสถานศึกษากับภาวะผู้นำของครูในโรงเรียนประถมศึกษาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

Main Article Content

ทิศนา แสงระวี
เรชา ชูสุวรรณ
คณิตา นิจจรัลกุล
วุฒิชัย เนียมเทศ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาอัตราและแบบแผนความสัมพันธ์สูงสุดระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับภาวะผู้นำของครู 2) ศึกษาค่าน้ำหนักความสำคัญคาโนนิคอลจากค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์คาโนนิคอลระหว่างชุดตัวแปรด้านภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับชุดตัวแปรด้านภาวะผู้นำของครู 3) วิเคราะห์ตัวแปรคาโนนิคอลจากค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับภาวะผู้นำของครู เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้กระบวนการวิจัยแบบสหสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 285 คน และครู 570 คน รวมทั้งสิ้น 855 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม 2 ฉบับ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) อัตราและแบบแผนความสัมพันธ์สูงสุดระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับครู มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ภายในข้ามกลุ่ม 2) ค่าน้ำหนักความสำคัญคาโนนิคอลจากค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์คาโนนิคอลระหว่างชุดตัวแปรด้านภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับของครู Root ที่ 1 และ Root ที่ 2 อธิบายความแปรรวนร่วมได้ 75.00 เปอร์เซ็นต์ และ 2.53 เปอร์เซ็นต์ มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สร้างพารามิเตอร์ชุดตัวแปรใหม่โดยใช้ชื่อว่า การเสริมสร้างสมรรถนะทางหลักสูตรและบริบททางการเรียนรู้ กับการจัดคุณภาพการศึกษาอย่างสร้างสรรค์ และการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง 3) ผลการวิเคราะห์ตัวแปรประกอบหรือตัวแปรคาโนนิคอลจากค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับครู มีการเสริมสร้างสมรรถนะทางหลักสูตรมีความสัมพันธ์กับการจัดการคุณภาพการศึกษาอย่างสร้างสรรค์ และการเสริมสร้างบริบททางการเรียนรู้มีความสัมพันธ์กับการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภาลาดพร้าว.

ประเสริฐ พืชผล. (2560). รูปแบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในภาคใต้. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 9(2), 319 – 345.

ปวีณา บุทธิจักร. (2564). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 10 (37), 210- 220.

วันเผด็จ มีชัย. (2554). ภาวะผู้นำทางวิชาการที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 5(2), 79 – 85.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). คู่มือการปฏิบัติงานข้าราชการครู. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแหงชาติ พ.ศ.2560 - 2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟ์ฟิค.

Chell, J. (2001). Introducing principal to the role of instructional leadership: A summary of master’s project. Retrieved February 4, 2022, from http://www.ssta.sk.ca/research/leadership/95-14.html

Glickman, C. D. et al. (2007). Supervision and instructional leadership. New York: Parson Educational.

Hopkins, D. (1993). A teacher’s guide to classroom research. Buckingham: Open UniversityPress.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Larson, J. L. (2006). Subjective fatigue, influencing variable, and consequences in chronic obstructive pulmonary disease. Nursing Research, 55(1), 10 - 17.

Ohlson, M. (2009). A study of school culture, leadership, teacher quality and student outcomes via a performance framework in elementary schools participating in a schoolreform initiative.Retrieved 2022 4, January, from http://proquest.umi.com/pqdweb?did=1845692191&Fmt=2&clientId=71090&RQT=309&VName=PQD