การประเมินศักยภาพของสถานประกอบการด้านการแพทย์ไทยที่สามารถพัฒนาเป็นหุ้นส่วนทางการศึกษาของวิทยาลัยการแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก

Main Article Content

ชฎาพร แซ่ม้า
กันยานุช เทาประเสริฐ
ปราณี คำแก้ว
รุสนี มามะ
จินตนา นันต๊ะ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินศักยภาพของสถานประกอบการด้านการแพทย์ไทยที่สามารถพัฒนาเป็นหุ้นส่วนทางการศึกษาของวิทยาลัยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้วิจัยจากเอกสารและฐานข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ตัวแทนผู้ประกอบการหรือเจ้าของกิจการของสถานประกอบการด้านการแพทย์ไทยในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย จำนวน 18 คน ได้คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า ศักยภาพของสถานประกอบการด้านการแพทย์ไทยที่สามารถพัฒนาเป็นหุ้นส่วนทางการศึกษาของวิทยาลัยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก มี 4 ประเภท ได้แก่ 1) สถานพยาบาลการแพทย์แผนไทย (คลินิกการแพทย์แผนไทย) 2) ร้านขายยาแผนโบราณหรือผลิตภัณฑ์สมุนไพร 3) ร้านขายต้นไม้หรือต้นสมุนไพร และ 4) สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ มีศักยภาพที่สามารถพัฒนาเป็นหุ้นส่วนทางการศึกษาของวิทยาลัยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก และมีศักยภาพ 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านความพร้อมของอาคารสถานที่และการให้บริการ โดยมีทำเลที่ตั้ง อยู่ทั้งใจกลางเมืองและชานเมือง อยู่ติดกับถนนสายหลักและมีสถานที่จอดรถ รวมทั้งสามารถให้บริการได้ตามความต้องการของผู้รับบริการ 2) ด้านความพร้อมของบุคลากรในสถานประกอบการ มีบุคลากรที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญในการให้บริการที่เหมาะสม และ 3) ด้านองค์ความรู้ที่สามารถแลกเปลี่ยนหรือพัฒนาร่วมกันระหว่างสถานประกอบการกับวิทยาลัยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก สามารถแลกเปลี่ยนหรือพัฒนาเป็นแหล่งศึกษาดูงาน แหล่งป้อนผู้เรียน แหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพ แหล่งป้อนบุคลากรเข้าอบรมหลักสูตรระยะสั้น ตลาดรองรับผลิตภัณฑ์สมุนไพรหรือวัตถุดิบสมุนไพร และตลาดรองรับการเข้างานของบัณฑิต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงสาธารณสุข และองค์กรภาครัฐ - เอกชน. (2560). แผนแม่บทแห่งชาติ ว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2560 - 2564). (พิมพ์ครั้งที่ 2). สมุทรปราการ: บริษัท ทีเอส อินเตอร์พริ้นท์ จำกัด.

คณะกรรมการนโยบายสมุนไพรแห่งชาติ. (2565). (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566 - 2570. กรุงเทพมหานคร: ร้านพุ่มทอง.

คณะกรรมการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2560). ยุทธศาสตร์ การพัฒนาภูมิปัญญาไท สุขภาพวิถีไท ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2560 - 2564). กรุงเทพมหานคร: อุษาการพิมพ์.

ณัฏฐดา ศรีมุข และวรรณจันทร์ สิงห์จาวลา. (2558). รูปแบบการพัฒนาศักยภาพสถานประกอบการและผู้ให้บริการเชิงส่งเสริมสุขภาพกลุ่มแอ็คทีฟบีชเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวชาวรัสเซีย. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาและการพัฒนาสังคม. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

ธีระพงษ์ อาญาเมือง. (2563). การส่งเสริมสถานประกอบการสปาเพื่อสุขภาพ ในการเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในภาคตะวันออก. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาและการพัฒนาสังคม. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ประกาศ เรื่อง ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580). (2561). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135 ตอนที่ 82 ก หน้า 1 (13 ตุลาคม 2561).

พระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562. (2562). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนที่ 57 ก หน้า 56 (1 พฤษภาคม 2562).

พระราชบัญญัติวิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2556. (2556). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 130 ตอนที่ 10 ก หน้า 5 (1 กุมภาพันธ์ 2556).

วารีพร ชูศรี และวรลักษณ์ ลลิตศศิวิมล. (2563). การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ : ความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(2), 205-226.

วิทยาลัยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก. (2560). ศักยภาพของวิทยาลัยการแพทย์ฯ. เรียกใช้เมื่อ 26 มกราคม 2565 จาก http://www.stam2002.com

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.