ปัจจัยการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะที่มีผลต่อการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วม 2) ศึกษาระดับการจัดการขยะ 3) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรปัจจัยการมีส่วนร่วมที่มีผลต่อการจัดการขยะ และ 4) ศึกษาข้อเสนอแนะต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนที่เป็นตัวแทนครัวเรือน จำนวน 351 คน คำนวณหาขนาดกลุ่มตัวอย่างจากสูตรของ Yamane เครื่องมือที่ใช้วิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ สถิติสัมประสิทธิ์เพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation ) และ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณเชิงเส้นตรง (Multiple Regression Analysis) โดยวิธี Enter ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน อยู่ในระดับมาก 2) ระดับการจัดการขยะของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน อยู่ในระดับมาก 3) ผลวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรปัจจัยการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะที่มีผลต่อการจัดการขยะของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน โดยภาพรวม อยู่ในระดับต่ำ สามารถอธิบายได้ร้อยละ 25.8 มีค่า R2 = .258 และมีค่า F = 30.146 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) ข้อเสนอแนะของประชาชน ได้แก่ สมควรจัดเก็บขยะให้ตรงตามเวลาที่องค์การบริหารส่วนตำบลประกาศไว้อย่างเคร่งครัด และประชาสัมพันธ์ในการจัดเก็บขยะมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวานให้ทราบโดยทั่วกัน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและกรมควบคุมมลพิษ. (2559). แผนปฏิบัติการ “ประเทศ ไทย ไร้ขยะ” ตามแนวทาง “ประชารัฐ” ระยะ 1 ปี (2559 – 2560). กรุงเทพมหนคร:กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและกรมควบคุมมลพิษ.
กัณธนิก กานต์ธนกุล. (2559). การจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนในเขตเทศบาลตำบลบางใหญ่ อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี. ใน วิทยานิพนธ์การจัดการสาธารณะ. สาขาวิชาการจัดการสาธารณะ. มหาวิทยาลัยบูรพา.
รัตติกาล อินทอง. (2554). การมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สนธยา บัวสงค์. (2561). ปัจจัยการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะของประชาชนขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาทะลุ อำเภอสวี จังหวัดชุมพร. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน. มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.
สรัญญา ตันศิริ. (2554). การมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองแพร่ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 2 ลำปาง. (2564). การจัดการขยะมูลฝอยชุมชนอย่างครบวงจร. ลำปาง: ส่วนส่งเสริมการจัดการสิ่งแวดล้อม สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 2 ลำปาง.
สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน. (2564). แผนพัฒนาท้องถิ่น 4 ปี. หนองคาย: องค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน.
อโณทัย เทียนสว่าง. (2556). การมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนบ้านป่าเส้า ตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Hinkle, D.E, et al. (1998). Applied Statisics for theBehavior Sciences. (4th ed.). New York: Houghton Fifflin.
Yamane, T. (1973). Statistics an Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper & Row Publishers Inc.